๖.๒ คำอธิบายและข้อสังเกต

(๑) ความไม่พอประมาณ

คำอธิบาย

ผู้เขียนอ้างถึงแนวคิด "Non-satiation" และ "Diminishing marginal utility" ของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักว่าเป็นการแสดงถึงความไม่พอประมาณ ("Non-satiation" ทำให้ต้องบริโภคสิ่งใดสิ่งหนึ่งในปริมาณที่มากขึ้น ส่วน "Diminishing marginal utility" ทำให้ต้องแสวงหาสินค้าบริโภคที่มากขึ้น) และกล่าวต่อเนื่องถึงเศรษฐศาสตร์กระแสหลักยุคหลังในเรื่องของ Inter-personal utility ว่า ครอบคลุมพฤติกรรม "Envious" อันจะสามารถนำไปสู่ "พฤติกรรมเลียนแบบการบริโภค" (Emulation of consumption) และพฤติกรรมอย่างหลังนี้เองที่ก่อให้เกิดความไม่พอประมาณ นอกจากนี้ ได้ยังหยิบยกเอา "พฤติกรรมจมไม่ลง" (Habit formation) ว่าสามารถนำไปสู่ความไม่พอประมาณได้เช่นกัน

ข้อสังเกต

แม้ผู้เขียนได้สรุปเอาไว้ว่าลักษณะ "envious" (Utility ของ A เป็น Non-increasing function ของ Utility ของ B) คือลักษณะของความไม่พอประมาณ โดยดูจาก "พฤติกรรมเลียนแบบการบริโภค" (ทั้งนี้ผู้เขียนน่าจะหมายถึง "keeping up with the Joneses" คือเลียนแบบจากผู้ที่มีมาตรฐานการบริโภคสูงกว่าเท่านั้น) แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าลักษณะ "Altruistic" จะนำไปสู่ความพอประมาณได้อย่างไร "Altruistic" จึงเป็นเสมือน Behavioural subset ของ "รู้จักพอประมาณ" หรืออีกนัยหนึ่งรู้จักพอประมาณ จึงเป็นเสมือน Behavioural subset ของ "Altruistic"

ที่จริงแล้ว "พฤติกรรมจมไม่ลง" เป็นเพียง Habit formation ในส่วนของเศรษฐกิจขาลงเท่านั้น ขณะที่สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซามานานทำให้ผู้บริโภคมี "พฤติกรรมแบบโงหัวไม่ขึ้น" นั่นก็เป็น Habit formation เช่นกัน หรือความขาดแคลนในช่วงสงคราม หรือจากประสบการณ์ภัยธรรมชาติ ก็สามารถสร้างนิสัย "รู้จักประมาณในการบริโภค" หรือ "รู้จักเก็บออมไว้ใช้ในยามขัดสน" ได้เช่นกัน

กล่าวโดยสรุป ทั้ง Emulation of consumption และ Habit formation จะเป็นลักษณะของความไม่พอประมาณได้ ก็ต่อเมื่อเป็นกระบวนการที่มี Asymmetry กล่าวคือจะเลียนแบบเฉพาะจากผู้ที่มั่งมีกว่าตนและจะคุ้นเคยกับระดับการบริโภคจากครั้งที่ตนเองมั่งคั่งเท่านั้นโดยจะไม่เลียนแบบผู้มีฐานะเท่าเทียมกันหรือด้อยกว่า และจะไม่คุ้นเคยกับระดับความสามารถของการบริโภคในอดีตหากเป็นระดับที่ต่ำกว่าปัจจุบัน

(๒) ความไร้เหตุผลในเชิงเศรษฐศาสตร์

คำอธิบาย

ผู้เขียนเชื่อว่าผู้ที่มี "พฤติกรรมจมไม่ลง" และ "พฤติกรรมเลียนแบบการบริโภค" ยังสามารถใช้เหตุผลในการวางแผนการบริโภคและการลงทุน ทั้งนี้ได้ย้ำว่า (๑) ความพึงพอใจอาจครอบคลุมถึงพฤติกรรมแบบ Altruism (๒) ความมีเหตุผลครอบคลุมถึงการเป็นคนรอบคอบและมองการณ์ไกล (๓) ความมีเหตุผลในการบริโภคย่อมต้องหมายถึงความสามารถในการหารายได้ ดังนั้นจึงหมายถึงความมีเหตุผลในการลงทุน ซึ่งรวมไปถึงการบริหารความเสี่ยง (การประเมิน Aggregate and Specific Risks และการวางแผนการลงทุนที่เหมาะสมภายใต้ Risk Structure) โดยอาศัยข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ถูกต้องและรอบคอบ

ผู้เขียนได้หยิบยกเอาพฤติกรรมแบบ "Herding" และ "Speculation" ตลอดจนพฤติกรรมแบบ "Risk-loving" (แม้ผู้เขียนจะไม่ได้ใช้คำนี้) ว่าไร้เหตุผล (ตาม Positive definition of "rational behaviour")

อนึ่ง ทั้งสองความหมายนี้ไม่ได้เป็นข้อขัดแย้งกันหากแต่เป็นการเจาะจงลงไปที่คนละส่วนของทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์

ข้อสังเกต

ในประเด็นนี้ผู้เขียนถือเอาความหมายของ "ความมีเหตุผล" ในลักษณะของ Positive statement concerning "rational pursuit of one's (autonomously determined) objectives" มากกว่าที่จะเป็น Normative statement concerning "reasonable pursuit of one's (socially acceptable and environmentally sustainable standard of) wellbeing"

แต่ในความจริงแล้ว ภายใต้ความไม่สมบูรณ์ของเงื่อนไขสนับสนุน "Perfect market hypothesis" ทำให้ทั้งพฤติกรรมแบบ "Herding" และแบบ "Speculation" อาจเป็นพฤติกรรมที่มีเหตุผลในความหมายของ "Rational behaviour" ก็เป็นได้ นอกจากนี้ การตีความว่าพฤติกรรมแบบ "Risk-loving" เป็นสิ่งไร้เหตุผลก็ไม่ถูกต้องตามหลักการเพราะการมี "Risk-loving utility profile" เป็นเรื่องของความพอใจไม่ใช่เรื่องของการดำเนินการอย่างมีเหตุผลภายใต้โครงสร้างของความพอใจ (คือเป็น "Rational pursuit") และ "การลงทุนในล๊อตเตอรี่" ก็เป็น "Rational behaviour" สำหรับ "Risk-loving utility" นั่นเอง

(๓) ความไม่ซื่อสัตย์สุจริต

คำอธิบาย

ผู้เขียนได้อธิบายถึงวิกฤติเศรษฐกิจว่าเป็นความเสียหายจากความไม่ซื่อสัตย์สุจริต มักจะถูกมองว่าเป็นความสูญเสียภายในต่อผู้ถือหุ้น แต่ภายหลังจึงได้เห็นว่าการที่รัฐบาลต้องเข้ามาภาคเอกชนทำให้ปัญหาความประคับประคองสถานการณ์ภาคเอกชน ทำให้ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์ดังกล่าวกลายเป็นปัญหาของส่วนรวม และยังได้หยิบยก ๒๘ วรรณกรรมปริทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีที่รัฐบาลไทยเสมือนกับออก Implicit guarantee ให้แก่สถาบันการเงินทำให้ผู้บริหารสามารถผ่องถ่ายผลประโยชน์ เข้าสู่ตนเองด้วยวิธีการต่าง ๆ

ข้อสังเกต

ตามกฎหมายในปัจจุบันให้ถือเอาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้เสียหายในกรณีทุจริตในสถาบันการเงิน ในขณะที่ก่อนหน้านี้ ธปท. ไม่มีสิทธิ์เป็นโจทก์ฟ้องได้ ทำได้แต่เพียงแจ้งผู้บริหารสถาบันการเงินให้ใช้วิจารณญาณดำเนินการเอง

ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงผลเสียในเชิงเศรษฐศาสตร์ อาทิในด้านการก่อให้เกิด Economic rent ที่ส่งผลต่อ Economic incentive for innovation จากกระบวนการอันมิชอบต่าง ๆ

ความซื่อสัตย์สุจริตควรจะรวมถึงความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ มิเช่นนั้นความเกียจคร้านจะไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดต่อหน้าที่หากตีความตามนิยามดังกล่าว

(๔) การขาดความรอบรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวัง

คำอธิบาย

ผู้เขียนได้หยิบยกนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน นโยบายอุ้มชูสถาบันการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ตลอดจนการที่รัฐไม่กระตือรือร้นเพียงพอในการพัฒนาเครื่องมือทางการเงิน ที่ช่วยในการบริหารความเสี่ยงว่าเป็นตัวอย่างของการขาดความรอบรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวัง

ข้อสังเกต

ตัวอย่างดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่ภาครัฐ นอกจากนี้การแสวงหาเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยในการบริหารความเสี่ยงก็เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยอาศัยปัจจัยภายนอกมากกว่าที่จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโครงสร้างทางอุตสาหกรรม เช่น ญี่ปุ่นที่ได้อาศัยการออมภายในประเทศเป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนา