ความหมาย

ราชาศัพท์ เป็นคำสมาส แยกออกได้ดังนี้กอ ราช, ราชา (เป็นคำบาลีสันสกฤต) + ศัพท์ (เป็นคำภาษาสันสกฤต ถ้าภาษาบาลีว่า สทุ) ความหมายของคำ ราชาศัพท์ นี้ พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ อธิบายว่า

"คำที่ใช้สำหรับพระราชากับทั้งเจ้านาย เช่น เสวย บรรทม เป็นต้น" [4]

หนังสือตำราไวยากรณ์ไทย ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) อธิบายว่า "ราชาศัพท์ แปลว่า ศัพท์สำหรับพระราชา หรือศัพท์หลวง แต่ในที่นี้หมายความว่าศัพท์ ที่ใช้ในราชการ เพราะในตำรานั้น บางคำไม่กล่าวเฉพาะกษัตริย์หรือเจ้านายเท่านั้น กล่าวทั่วไปถึงคำที่ใช้ สำหรับบุคคลอื่นด้วย เช่น ขุนนาง พระสงฆ์" [5]

ส่วนในหนังสือเรื่องการใช้ถ้อยคำ ของ หม่อมหลวงมีย์ มาลากุล อธิบายว่า

"ราชาศัพท์ ตามความเข้าใจโดยทั่วไปแล้ว หมายถึงภาษาไทยส่วนหนึ่งที่ใช้ ในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี และใช้เมื่อกราบทูลพระบรมวงศานุวงศ์ บ้างก็เข้าใจว่า เป็นคำพูดที่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ทรงใช้โดยเฉพาะ ดูราวกับเป็นอีกภาษาหนึ่งทีเดียว

ราชาศัพท์ที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรก เห็นจะเป็นกฎมณเฑียรบาลในรัชสมัยสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ กรุงศรีอยุธยา ในกฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ มีพระราชกำหนดถ้อยคำที่จะใช้กราบบังคมทูล กราบทูล คำที่ใช้เรียกสิ่งของเครื่องใช้และวิธีใช้ คำรับ อาจถือเป็นตำราราชาศัพท์ฉบับแรกได้...

ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า เข้าใจว่ามูลรากของราชาศัพท์นั้น คือ ศัพท์ที่จะใช้เมื่อกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบทูลพระราชวงศ์ ไม่ใช่ศัพท์ที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ทรงใช้ สำหรับพระองค์ท่านโดยเฉพาะ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือศัพท์สำหรับใช้ กับบุคคลที่เคารพสูงสุด" [6]

เชิงอรรถ