เคยจีอยู่ในไม้ตับ หาไม่กับกินกับเคยจี
คำกลอนที่ใช้เป็นหัวเรื่องนี้สะท้อนภาพสังคมได้เป็นอย่างดี สมัยที่เป็น เด็กเคยได้ยินกลอนนี้ แต่เป็นการร้องเล่นกันสนุก ๆ ตามประสาเด็ก แท้จริงมี ความหมายที่อธิบายถึงภูมิหลังชีวิตคนในชนบทภาคใต้ได้เป็นอย่างดี คำว่า เคย เป็นภาษาถิ่นใต้ ตรงกับคำว่า กะปิ ในภาษาไทยกรุงเทพ เคย ที่ทำจากกุ้งเคย เรียกว่า เคยกุ้ง ถ้าทำจากปลาตัวเล็ก ๆ เรียกว่า เคยปลา คำว่า จี ภาษาถิ่นใต้ ตรงกับคำว่า จี่ หมายถึง ปิ้ง ย่าง เผา หรือทำให้สุก ด้วยการวางไว้เหนือถ่านไฟ คำว่า เคยจี จึงหมายถึงกะปิที่ปิ้ง ย่าง หรือที่ เผาสุกแล้ว
คำว่า เคยจีอยู่ในไม้ตับ เป็นคำกลอนบอกกรรมวิธีที่ทำให้กะปิสุก ด้วยการใช้ก้อน เคย หรือ กะปิ พอกรอบไม้ที่มีขนาดพอเหมาะ มีความยาว พอสมควร จะเป็นไม้กลมหรือแบนก็ได้ โดยใช้ฝ่ามือบีบกดก้อนเคยให้เกาะ ติดกับเนื้อไม้ แล้วนำไปวางเหนือไฟ คอยพลิกให้ถูกความร้อนโดยรอบ เมื่อ เคยสุกจะเริ่มมีสีเหลือง ส่งกลิ่นหอมฟุ้งยั่วน้ำย่อยของผู้เคยลิ้มรส ให้รู้สึกถึง เสน่ห์เคยจีอีกครั้ง
มีผู้นำเคยจีไปพัฒนาเป็นสูตรอาหารชั้นเลิศได้อีกหลายชนิด ที่อำเภอ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยจีเป็นน้ำพริกที่ใช้เคยโขลกกับเนื้อมะพร้าว ผสมเนื้อปูนำไปใส่ในกะลามะพร้าวแล้วยกขึ้นจีหรือย่างไฟจนมีกลิ่นหอม กินกับผักพื้นบ้านนานาชนิด บางท้องถิ่นได้พัฒนาเป็นสูตรอาหารประเภทนึ่ง โดยมีไข่ กะทิ และเครื่องแกงคั่วเป็นส่วนผสม บางท้องถิ่นใช้เคยกับเครื่องแกงคั่ว และกะทิเพียงสามอย่างตั้งไฟ เคี่ยวให้เหลือน้ำแต่น้อย จะส่งกลิ่นหอมฟุ้ง เรียกว่า คั่วเคย หรือ เคยคั่ว
คำว่า หาไม่กับ เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึงไม่มีกับข้าวอื่นใดอยู่ภายใน บ้านเลย ไม่รู้จะกินข้าวกับอะไร บ่งบอกฐานะว่าเป็นครอบครัวที่ยากจนมาก จึงกินข้าวกับเคยจีเพื่อบำบัดความหิวให้มีชีวิตอยู่รอดไปได้อีกวันหนึ่ง เคยได้ยิน เด็กๆ ในสมัยก่อนท่องคำคล้องจอง มีความหมายในลักษณะสะท้อนชีวิตที่ อดอยากยากจนว่า วันนี้กินข้าวกับเคย ยังสิ่งหนึ่งเหลยกินเคยกับข้าว ยังสิ่งหนึ่งเล่ากินข้าวกับเคย สรุปว่า อาหารทั้งสามอย่างที่กล่าว มีเคย เพียงอย่างเดียว ยัง แปลว่า มี เหลย แปลว่า อีก
ปัจจุบันสังคมพัฒนาเจริญขึ้น อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีทั้งอาหารไทย และอาหารนานาชาติ เคยจี ที่เป็นต้นตำรับคงหาไม่ได้อีกแล้ว แต่กลิ่นหอมยั่ว น้ำย่อยยังอยู่ในใจของผู้เขียน เมื่อนึกถึงบทกลอนที่ว่า
หาไม่กับ แปลว่า ไม่มีกับข้าว กินกับเคยจี แปลว่า กินข้าวด้วยเคยจี ฝามี แปลว่า ฝาละมี
(นายชะเอม แก้วคล้าย)