ผญาคำสอน : ให้เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา

งูอย่าขืนใจแข้ หางยาวเสมอภาคกันแล้ว
พร้าอย่าหวังหน่ายด้าม คมสิเหี้ยนก่อนสัน
งูอย่าขืนใจแข่ หางยาวเสมอภาคกันแล้ว
พร้าอย่าหวังหน่ายด้าม คมสิเหี้ยนก่อนสัน

ผญาที่ว่า งูอย่าขืนใจแข้ (งูอย่าขืนใจแข่) แปลว่า งูอย่าขืนใจจระเข้

แข้ [แข่] แปลว่า จระเข้

ผญาที่ว่า หางยาวเสมอภาคกันแล้ว [หางยาวเสมอภาคกันแล้ว] แปลว่า หางยาวเท่ากัน

ผญาที่ว่า พร้าอย่าหวังหน่ายด้าม [พร้าอย่าหวังหน่ายด้าม] แปลว่า มีดอย่าเบื่อหน่ายด้าม

หวังหน่าย แปลว่า เบื่อหน่าย

ผญาที่ว่า คมสิเหี้ยนก่อนสัน [คมสิเหี้ยนก่อนสัน] แปลว่า คมมีดจะ สึกหรอก่อนสัน

เหี้ยน [เหี้ยน] แปลว่า สั้น, สึกหรอ

สัน หมายถึง สันมีด

ดังนั้นคำผญาที่ว่างูอย่าขืนใจแข้ หางยาวเสมอภาคกันแล้ว พร้าอย่าหวัง หน่ายด้าม คมสิเหี้ยนก่อนสัน งูอย่าขืนใจแข้ หางยาวเสมอพากกันแล้ว พร้าอย่าหวังหน่ายด้าม คมสิเหี่ยนก่อนสัน แปลว่า ผู้เป็นลูกนั้นต้องเชื่อฟัง คำสอนของบิดามารดา เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แล้ว อย่าขัดขืนใจของท่านให้ เจ็บช้ำน้ำใจ ลูกหลานหากเถียงพ่อแม่คำไม่ตกฟาก คนอีสานเชื่อว่าชีวิตของลูก จะไม่เจริญก้าวหน้า นับวันแต่จะตกต่ำ เปรียบลูกที่ทำตัวเหมือนงูที่คิดจะวัดหาง ของตนว่ายาวเท่ากับหางจระเข้คือพ่อแม่ที่มีพระคุณแก่ตน และเปรียบลูก เหมือนตัวมีดหรือพร้าถ้าไม่มีด้ามคือพ่อแม่ คอยประคับประคองแล้ว ลูกก็จะ มีชีวิตอยู่อย่างไร้ทิศทาง

(นายนิรันดร์ บุญจิต)