ผญาคำสอน : ให้รักเพื่อนบ้าน

ไทไกลนี้จูงแลนเข้าป่าบ่ท่อหูพี่วี่ ไทใกล้โก้กลิงดอกตี้
(ไทไกนี่จูงแลนเข่าป่าบ่อท่อหูพี่วี่ ไทใกล้โก้กลิงดอกตี้)

ผญาที่ว่า ไทไกลนี้จูงแลนเข้าป่า (ไทไกนี่จูงแลนเข่าป่า) แปลว่า คนที่ อยู่หมู่บ้านอื่น เมื่อไล่จับตะกวดได้แล้วจะจูงตะกวดหายเข้าไปในป่า ไม่อยาก แบ่งคนอื่น

ไทไกล [ไทไก] หมายถึง คนบ้านไกล คนที่อยู่หมู่บ้านอื่น อาจจะ เป็นญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง หรือคนที่รู้จักมักคุ้นกัน

แลน แปลว่า ตะกวด เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าโปร่ง หากินตาม พื้นดิน ขึ้นต้นไม้เก่งและจับได้ยาก เป็นอาหารป่าชั้นดีของชาวอีสาน ถ้าวันใด จับได้ถือว่าวันนั้น หมาน คือ โชคดี

บ่ท่อหูพี่วี่ ไทใกล้โก้กลิงดอกตี้ [บ่อท่อหูพี่วี่ ไทใกล้โก้กลิงดอกตี้] แปลว่า ไม่เท่าคนบ้านใกล้เรือนเคียงที่เห็นหน้ากันอยู่ทุกวัน มีทะเลาะกันบ้าง

ท่อ แปลว่า เท่า เช่น มือท่อกะดัง แปลว่า มือโตเท่ากระดัง

พี่วี่ หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่เป็นใบ เช่นใบไม้หรือใบหูตั้งตรงขึ้น และเห็นชัดเจน

ไท แปลว่า คนทั่วไป เช่น เจ้าเป็นไทบ้านใด [เจ้าเป็นไทบ้านใด] แปลว่า เจ้าเป็นคนบ้านไหน เพิ่นเป็นคนไทนอก แปลว่า เขาเป็นคนต่างถิ่น

ไทใกล้ [ไทใกล้] แปลว่า คนบ้านใกล้เรือนเคียง

โก้ก แปลว่า ดุร้าย โก้กลิง แปลว่า ลิงดุร้าย

ดอกตี้ แปลว่า อย่างแน่นอน, อย่างนั้นแหละ

ไทไกลนี้จูงแลนเข้าป่า บ่ท่อหูพี่รี่ ไทใกล้โก้กลิงดอกตี้ (ไทไกนี่จูงแลน เข่าป่า บ่อท่อหูพี่วี่ ไทไก้โก้กลิงดอกตี้) หมายความว่า คนที่อยู่ไกลกันแม้จะ เป็นญาติสืบสายโลหิตเดียวกัน ถึงมีอาหารการกินก็ไม่สามารถแบ่งปันกันได้ หรือมีเรื่องทุกข์ร้อนก็ไม่สามารถช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที สู้คนบ้านใกล้ เรือนเคียงไม่ได้ แม้จะทะเลาะเบาะแว้งกันบ้างก็ยังได้พึ่งพาอาศัยกันในคราว จำเป็น แสดงให้เห็นวัฒนธรรมความมีน้ำใจของชาวอีสาน ที่คอยช่วยเหลือ เกื้อกูลกันและกัน

(นายนิรันดร์ บุญจิต)