อาสาฬหบูชา

อาสาฬหะ คือเดือน ๘ อาสาฬหบูชา คือการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ความสำคัญของวันเพ็ญเดือน ๘ นี้มีอยู่อย่างไร จะได้นำพุทธประวัติ ตอนหนึ่งมาเล่าต่อไปนี้

นับแต่วันที่สมเด็จพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ คือในวันเพ็ญเดือน ๖ พระองค์ประทับเสวยวิมุตติสุขในบริเวณโพธิมัณฑ์นั้นตลอด ๒ สัปดาห์คือ

สัปดาห์ที่ ๑ คงประทับอยู่ที่ควงไม้อสัตถะ อันเป็นไม้มหาโพธิ เพราะ เป็นที่ตรัสรู้ ทรงใช้เวลาพิจารณาปฏิจจสมุปปาทธรรมทบทวนอยู่ตลอด ๗ วัน

สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปทางทิศอีสานของต้นมหาโพธิประทับกลางแจ้ง เพ่งดูไม้มหาโพธิโดยไม่กระพริบพระเนตรอยู่ในที่แห่งเดียวจนตลอด ๗ วัน ที่ที่ประทับยืนนั้นปรากฏเรียกในภายหลังว่า "อนิมิสสเจดีย์"

สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จไปประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสเจดีย์ กับ ต้นมหาโพธิ แล้วทรงจงกรมอยู่ ณ ที่ตรงนั้นตลอด ๗ วัน ซึ่งต่อมาเรียกที่ ตรงนั้นว่า "จงกรมเจดีย์"

สัปดาห์ที่ ๔ เสด็จไปทางทิศพายัพของต้นมหาโพธิ ประทับนั่งขัด บัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมอยู่ตลอดวัน ที่ประทับขัดสมาธิเพชร ต่อ มาเรียกว่า "รัตนฆรเจดีย์"

สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปทางทิศบูรพาของต้นมหาโพธิ ประทับที่ควงไม้ ไทร ชื่อ อชปาลนิโครธ อยู่ตลอด ๒ วัน ในระหว่างนั้นทรงแก้ปัญหา ของพราหมณ์ผู้หนึ่ง ซึ่งทูลถามในเรื่องความเป็นพราหมณ์

สัปดาห์ที่ ๖ เสด็จไปทางทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ ประทับที่ควงไม้ จิกเสวยมุติสุขอยู่ตลอด ๗ วัน ฝนตกพรำตลอดเวลา พญานาคมาวงขดล้อม พระองค์ และแผ่พังพานบังฝนให้ พระองค์ทรงเปล่งพระอุทานสรรเสริญ ความสงัดและความไม่เบียดเบียนกันว่าเป็นสุขในโลก

สัปดาห์ที่ ๗ เสด็จย้ายสถานไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ ประทับที่ ควงไม้เกด เสวยวิมุติสุขอยู่ตลอด ๗ วัน มีพาณิช ๒ คนชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เดินทางจากอุกกลชนบทมาถึงที่นั้นได้เห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่จึง นำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตนเข้าไปถวาย พระองค์ ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว สองพาณิชก็ประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสก คู่แรกในประวัติกาล

เมื่อล่วงสัปดาห์ที่ ๗ แล้ว พระองค์เสด็จกลับมาประทับที่ควงไม้ไทร ชื่อ อชปาลนิโครธอีก ทรงคำนึงว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยาก ที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม จึงท้อพระทัยที่จะสอนสัตว์ แต่อาศัยพระกรุณาเป็นที่ตั้ง ทรงเล็งเห็นว่าโลกนี้ผู้ที่พอจะรู้ตามได้ก็คงมี ตอนนี้แสดงถึงบุคคล ๔ เหล่า เปรียบกับดอกบัว ๔ ประเภท คือ

๑. อุคฆฏิตัญญู ได้แก่ผู้ที่มีอุปนิสัยสามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใด ในขณะที่มีผู้สั่งสอนเปรียบเทียบ เหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อม ที่จะบานเมื่อได้รับแสงพระอาทิตย์ในวันนั้น

๒. วิปัจจิตัญญู ได้แก่ผู้ที่สามารถจะรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่าน ขยายความย่อให้พิสดารออกไป เปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จะบานในวันรุ่งขึ้น

๓. เนยยะ ได้แก่ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอ ไม่ท้อถอย จึงได้รู้ธรรมวิเศษ เปรียบเสมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ ได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำ แต่จะโผล่แล้วบานขึ้นในวันต่อ ๆ ไป

๔. ปทปรมะ ได้แก่ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่อง แล้วก็ไม่สามารถรู้ธรรม วิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำติดกับเบือกตม รังแต่จะเป็นภักษา- หารแห่งปลาและเต่า เมื่อเล็งเห็นเหตุนี้จึงตกลงพระทัยจะสอน ทรงนึกถึง ผู้ที่ควรโปรดก่อน เช่น อาฬารดาบสกับอุทกดาบสท่านเหล่านี้ก็หาบุญไม่เสีย แล้ว จะมีอยู่ก็แต่ปัญจวัคคีย์ จึงทรงตัดสินพระทัยว่าควรโปรดปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วก็เสด็จออกเดินทางจากควงไม้ไทรนั้น มุ่งพระพักตร์เสด็จไปป่าอิสิป- ตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี

การที่เสด็จเดินทางจากตำบลพระศรีมหาโพธิมา จนกระทั่งถึงกรุงพาราณสี เช่นนี้ แสดงให้เห็นพระวิริยะอุตสาหะอันแรงกล้า เป็นการตั้งพระทัยแน่ว แน่ที่จะประทานพระปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรกอย่างแท้จริง หนทางระหว่างตำบลพระศรีมหาโพธิถึงพาราณสีนั้น ในปัจจุบันนี้ถ้าไป ทาง รถไฟก็เป็นเวลา ๘ ชั่วโมง การเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า อาจใช้ เวลาตั้งหลายวัน แต่ปรากฏว่าในตอนเย็นขึ้น ๑๔ ค่ำเดือนอาสาฬหะนั้น เอง พระพุทธองค์ก็เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี อัน เป็นที่อยู่แห่งปัญจวัคคีย์ พอเสด็จเข้าราวป่า พวกปัญจวัคคีย์นั้นได้เห็นจึง นัดหมายกันว่าจะไม่ไหว้ ไม่ลุกรับและไม่รับบาตรจีวร จะตั้งไว้ให้เพียง อาสนะเท่านั้น เพราะเข้าใจว่าพระองค์กลายมาเป็นคนมีความมักมาก หมด ความเพียรเสียแล้ว พอพระองค์เสด็จถึง ต่างก็พูดกับพระองค์โดยไม่เคารพ พระองค์ตรัสห้าม และทรงบอกว่า พระองค์ตรัสรู้แล้วจะแสดงธรรมสั่งสอน ให้นั่ง พราหมณ์ทั้งหลายก็พากันคัดค้านลำเลิกด้วยถ้อยคำต่าง ๆ ที่สุดพระองค์ จึงทรงชี้แจงเตือนให้รำลึกว่า พระองค์เคยกล่าวเช่นนี้มาในหนหลังบ้างหรือ พราหมณ์ทั้ง ๕ ระลึกได้ ต่างก็สงบตั้งใจฟังธรรมทันที ค่ำวันนั้นพระองค์ ประทับแรมอยู่กับพราหมณ์ทั้ง ๕ รุ่งขึ้นวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ พระ- องค์จึงเริ่มแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร นับเป็นเทศนากัณฑ์แรกโปรด ปัญจวัคคีย์นั้น โดยใจความคือ ทรงยกที่สุด ๒ ฝ่าย ได้แก่การประกอบตน ให้ลำบากด้วยทรมานกาย และการประกอบตนให้เพลิดเพลินในทางสุข ทั้ง ๒ นี้นับว่าเป็นของเลวทรามไม่ควรเสพ เฉพาะทางสายกลางเท่านั้นเป็นข้อ ปฏิบัติที่สมควร แล้วทรงแสดงทางสายกลางคืออริยมรรค ๘ ประการ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

สรุปลงด้วยอริยสัจ ได้แก่

๑. ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ ความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ชี้ให้เห็นโดยปริวัฏและอาการต่าง ๆ ว่าเมื่อรู้แล้วอาจยืนยันได้ว่า ตรัสรู้ โดยชอบ ถึงความหลุดพ้นและสุดชาติสุดภพแน่นอน ขณะที่พระองค์ ทรงแสดงธรรมนี้อยู่ ท่านโกณฑัญญะได้ส่องญาณไปตามจนเกิด "ธรรมจักษุ" คือดวงตาเห็นธรรมขึ้นทางบัญญา พระองค์ทรงทราบจึงทรงเปล่งพระอุทาน ว่า อัญญาสิ ๆ (โกณฑัญญะรู้แล้ว ๆ) เพราะพระองค์อุทานนี้ ภายหลัง ท่านโกณฑัญญะจึงได้นามใหม่ว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" แต่นั้นก็ทูลขอบรรพชา พระองค์ประทานอนุญาตด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็นพระสงฆ์องค์แรก ในพระศาสนาที่บวชตามพระพุทธองค์

ตามพุทธประวัติที่เล่ามานี้ จะเห็นว่าวันอาสาฬหบูชานี้มีความสำคัญ

๑. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา

๒. เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมจักกัปปวัตตน สูตรประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณ

๓. เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระ อัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาในวันนั้น

๔. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระสังฆรัตนะสมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ

การทำพิธีอาสาฬหบูชาคงทำเช่นเดียวกับ มาฆะ วิสาขะ แต่เปลี่ยน คำบูชาพระตามประกาศของสำนักสังฆนายกดังต่อไปนี้

คำนำถวายดอกไม้, ธูป, เทียน ในวันอาสาฬหบูชา

ยมมุห โข มย์ ภควนุติ สรณ์ คดา โย โน ภควา สตุถา ยสุส จ มย์ ภควโต ธมฺมิ โรเจม อโหสิ โซ โส ภควา องห์

สมุมาสมุพุทโธ สตุเคสุ การุณ์ กรุณายโก หิเคสี อนุกมุปิ อุปาทาย อาสาพุหปุณฺณมิย์ พาราณสิย์ อิสิปคเน มิคทาเย ปญฺจวคุคิยานิ ภิกซูน์ อนุดดริ ธมฺมจกกิ ปชม ปวตุเคตุวา จตุตาริ อริยสจุจานิ ปลาเสสิ ฯ ตสุมิญฺจ โข สม.ย ปญจวคุคิยานิ ภิกขูน์ ปมุโข อายสุมา อณุณาโกณุทญฺโณ ภควโต ธมฺมิ สุดวา วิรชํ วีตมล์ ธมฺมจกขุ ปฏิสภิตุวา "ยงุกิญจิ สมุทยธมฺมิ สพุพนุติ นิโรธธมุมนุติ

ภควนุติ อุปสมบท ยาจิตฺวา ภควโตเยว สนุติกา เอหิภิกขุอุปสมบทํ ปฏิลภิตุวา ภควโต ธมฺมวินเย อริยสาวกสังคฺโฆ โลเก ปรมํ อุปฺปนฺโน อโหสิ ฯ ตสุมิญฺจาปี โส สมเย สงฺฆรตน์ โลเก ปชฺมิ อุปฺปนฺโน อโหสิ พุทธรตน์ ธมฺมรตน์ สงฺฆรคนนุติ ติรตน์ สมฺปุณฺณ โอโหสิ ฯ มยํ โข เอตรหิ อิมํ อาสาหลหปุณฺณมี กาลิ ตุสฺส ภควโต ธมฺมจกฺกุปฺปวตนกาลสมฺมุติ อริยสาวกสงฆุปฺปตฺตกาลสมุตฺโต จ รตนตติยสมฺปุณฺณกาลสมฺมุตฺติ อิเม ธมฺมา สมุปคุตา อิเม สกฺการ เหตุวา อตฺตโน กาย สมุปาธานํ กริตุวา ตสุส ภควโต ยถาภุชเจ คุณ อนุสสรนุตา อิมํ ถูป (อิมํ พุทธปฏิม) ติกุขฑุ ปรทุขิณํ กริสุสาม ยถาคหิเตหิ สกฺการหิ ปูชํ กุรุมานา ฯ สาธุ โน ภควา สุจิรปรินิพฺพุโคปิ ณาเทวปฺปหิ คุณหิ อตีตรมฺมณาย ปญฺายมาโน อิเม อมฺเหหิ คหิเต สกฺการ ปฏิคคณฺหาตุ อมฺหากิ ที่รมฺหาติ หิตาย สุขาย ฯ

คำแปล

เราทั้งหลายถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ว่าเป็นที่พึ่งพระผู้มีพระภาคพระองค์ใดเป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย อนึ่ง เราทั้งหลายชอบใจซึ่งธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นยอดเยี่ยมให้เป็นไป ทรงประกาศอริยสัจ ๔ เป็นครั้งแรกแก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้กรุงพาราณสี ในวันอาสาฬหปุณณมี

อนึ่ง ในสมัยนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าของพระภิกษุปัญจวัคคีย์ ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ธรรมจักษุอันบริสุทธิ์ปราศจากมลทินว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้นมีความดับเป็นธรรมดา" จึงทูลขออุปสมบทกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้เป็นพระสงฆ์อริยสาวกในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นองค์แรกในโลก

อนึ่ง ในสมัยนั้นแล พระสังฆรัตนะได้บังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพระรัตนะครบคือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ ได้สมบูรณ์แล้วในโลก

บัดนี้ เราทั้งหลายแล มาประจวบมงคลสมัยอาสาฬหปุณณมี วันเพ็ญอาสาฬหมาส ที่รู้พร้อมกันว่าเป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงประกาศพระธรรมจักร เป็นวันที่เกิดขึ้นแก่พระอริยสงฆ์สาวกและเป็นวันพระรัตนตรัยสมบูรณ์ คือ ครบ ๓ รัตนะ จึงมาประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้ ถือสักการะเหล่านี้ ทำกายของตนให้เป็นดังภาชนะรับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระ

คุณตามเป็นจริงทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น (บูชาอยู่ด้วยสักการะ อันถือไว้แล้วอย่างไร) จักทำประทักษิณสิ้น พระสถูป วาระสามรอบซึ่ง พระพุทธปฏิมานี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพานนาน มาแล้วยังปรากฏอยู่ เพราะพระคุณสมบัติอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึงรู้ โดยความเป็นอตีตารมณ์ จงทรงรับซึ่งเครื่องสักการะอันข้าพระพุทธเจ้าทั้ง หลายถือไว้นี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายชั่ว กาลนาน เทอญ