วิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา เมื่อ ๒๕๐๐ ปีเศษ ที่สวนลุมพินีวัน ระหว่างเมือง กบิลพัสดุ์ กับเมืองเทวทหนคร ณ ที่นั้นพระนางสิริมหามายา อัครมเหสี ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ประสูติพระโอรสพระองค์หนึ่ง ครั้นประสูติ แล้วได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะทรงทำมงคลพิธีขนานพระนามว่า "สิท- ธัตถราชกุมาร" เมื่อสิทธัตถราชกุมารทรงพระเจริญขึ้น ได้รับการศึกษาใน สำนักครูวิศวามิตร จนจบวิทยาการที่อาจารย์สอนให้ ครั้นพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ก็ทำพิธีสมรสกับพระนางพิมพา ราชบุตรีของพระเจ้าสุปพุทธะ กษัตริย์กรุงเทวทหะ สิทธัตถราชกุมารเสวยสุขสมบัติอยู่ตลอดกาล จนพระ ชนม์ได้ ๒๙ พรรษา มีพระโอรสพระองค์หนึ่งชื่อ ราหุล สิทธัตถราชกุมารไม่ พอพระทัยในการอยู่เป็นฆราวาส ท่านตริตรองถึงชีวิตของคน เล็งเห็นว่าล้วน แล้วไปด้วยทุกข์ จึงหาอุบายที่จะให้พ้นทุกข์ เรื่องอยากพ้นทุกข์นี้มีด้วยกัน ทุกคน แต่อุบายที่จะทำให้พ้นทุกข์มีต่าง ๆ กัน ตามความเห็นของคนสามัญ เห็นว่า ถ้ามั่งมีก็พ้นทุกข์ ถ้ามียศมีอำนาจก็พ้นทุกข์ ผู้ที่ชอบดื่มเหล้านึกว่า ถ้ามีเหล้าดื่มอยู่เสมอแล้ว ก็จะละลายความทุกข์ให้หมดไป เหมือนน้ำละลาย ดินสอพอง แต่ทั้งนี้ก็ไม่พ้นทุกข์กันไปได้ ทุกข์มีอยู่เสมอ ถึงจะมั่งมี มียศ มีอำนาจบริบูรณ์ก็ยังไม่เห็นพ้นทุกข์กันไปได้ จึงเป็นอันว่าคนสามัญหาอุบาย แก้ทุกข์ ไม่สำเร็จ ยิ่งไปแก้ ทุกข์ก็ยิ่งทับถมหนักขึ้น เพราะแก้ไม่ถูกทาง ส่วนสิทธัตถราชกุมารหาอุบายแก้ทุกข์ได้สำเร็จ คือ ทรงตัดสินพระทัยสละ โภคสมบัติ ยศศักดิ์ อำนาจวาสนาเสียโดยสิ้นเชิง ทรงค้นคว้าหาความบริ- สุทธิ์อันเป็นรากฐานแห่งความดีทั้งหลาย ในที่สุดพระองค์ได้บรรลุคุณวิเศษ อันเป็นเหตุให้หมดทุกข์ ทรงพบความสุขอันแท้จริงในเมื่อพระชนม์ได้ ๓๕ พรรษา ที่เราเรียกกันว่าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และได้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ในระหว่างนี้พระองค์ได้ทรง เผยแผ่ประกาศศาสนธรรมให้แพร่หลายไปในหมู่พุทธศาสนิกชน พระองค์ ไม่ได้อยู่ว่าง คำสอนของพระองค์มุ่งให้ตั้งอยู่ในความสงบ ความสามัคคี การหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบเป็นต้น พระองค์ทรงบำเพ็ญอยู่เช่นนี้ตลอด ๔๕ พรรษา

ครั้นถึงวันเพ็ญเดือนวิศาขะ เมื่อ ๒๕๐๐ ปีเศษ มาแล้ว ณ ระหว่าง ใต้ต้นรังทั้งคู่ในเมืองกุสินารา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรทมผันพระ เศียรไปทางทิศอุดร บรรทมโดยข้างเบื้องขวา พระหัตถ์ซ้ายเหยียดตรงทาบ กับพระองค์เบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวายันไว้กับพระเศียรเบื้องขวา ตั้งพระ บาทเบื้องซ้ายทับพระบาทเบื้องขวา มีพระสติสัมปชัญญะมั่นคง ทรงบรรทม ครั้งนี้เป็นอวสาน เรียกว่า "อนุฏฐานไสยา" แปลว่า "นอนอย่างไม่ลุก ต่อไปอีก" สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยพระคุณ ๓ ประการ คือ พระองค์ทรงรู้ดีรู้ชอบ เป็นพระปัญญาคุณประการหนึ่ง พระองค์ทรง บริสุทธิ์สิ้นเชิง เป็นพระบริสุทธิคุณประการหนึ่ง พระองค์ทรงสงสารสั่งสอน ผู้อื่น เป็นพระกรุณาคุณประการหนึ่ง ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้ว ในวันวิศาขะนี้เอง

ตามที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั้น แสดงให้เห็นว่า วันวิสาขบูชาเป็น วันสำคัญยิ่งนัก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าของเราได้ประสูติ คือเกิด ได้ ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือดับ ทั้งสามอย่างนี้ในวันวิศาขบุรณมี ตรงกัน เมื่อมาถึงวันเช่นนี้ทุกปี เราคิดถึงพระพุทธเจ้า จึงพร้อมใจกันบูชา พระองค์ในวันวิศาขะ จึงเรียกกันว่า วิสาขบูชา แต่ถ้าจะเรียกให้ถูก ต้อง เรียกว่า วิศาขบุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิศาขะ แต่ยาวไป เราจึงเรียกให้สั้นว่า วิสาขบูชา เมื่อถึงวันเช่นนี้ควรตั้งข้อกำหนด ลงไปว่า วันเช่นนี้ตรงกับวันประสูติ วันตรัสรู้ วันปรินิพพานของพระพุทธ- องค์ แล้วบูชานึกน้อมถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตามความเข้า ใจของตน

ความจริง พระพุทธองค์ถึงจะประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ห่างปี กัน คือ จากปีประสูติมา ๓๕ ปีจึงได้ตรัสรู้ และต่อมาอีก ๔๕ ปี จึงเสด็จ ดับขันธปรินิพพาน แต่ก็ตรงในวันเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิศาขะ ถ้า พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานในวันต่าง ๆ กัน หน้าที่ของเราผู้ เป็นพุทธศาสนิกชนก็จะต้องทำการบูชาใหญ่ต่าง ๆ กันให้ได้ทั้งสามคราว นี่ เป็นการอัศจรรย์นักหนาที่วันสำคัญได้ตรงกันทั้งสามคราว เราจึงได้ทำการ บูชาใหญ่กันเพียงปีละครั้ง แต่ว่าตั้งข้อกำหนดไว้ถึง ๓ อย่างรวมกันในคราว เดียว

การทำวิสาขบูชา เป็นกิจที่ทำได้ง่ายมาก เพราะมีเพียงปีละครั้งเท่านั้น ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา หากขาดการทำพิธีบูชาพระในวันเช่นนี้ ก็ดูเป็นนับถือพระแต่เพียงชื่อ ชีวิตจิตใจมิได้เป็นอย่างผู้นับถือพระ ท่านแต่ก่อนชั้นปู่ย่าตายายของเราที่หนักแน่นในคุณพระ "แม้กำลังนอนเจ็บอยู่กับที่ เมื่อได้ทราบว่าเป็นวันวิสาขบูชา ท่านก็ประณมมือยกขึ้นสาธุระลึกถึงคุณพระ ที่ทุพพลภาพยกมือขึ้นไม่ไหวก็ตั้งใจระลึกถึงคุณพระเป็นอารมณ์ ทำใจให้แจ่มใส ไม่ระสำระสาย ในเวลาเช่นนี้ ลูกหลานของท่านที่รู้ระเบียบมักจะจุดธูปเทียนดอกไม้ จุดบูชาให้ท่านเสร็จ แล้วก็แจ้งให้ท่านทราบ ท่านก็อนุโมทนาและสาธุเหมือนได้จุดบูชาเอง หรือไม่เช่นนั้นท่านก็ฝากรูปเทียนดอกไม้ให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งไปบูชาแทน ท่านผู้ที่หนักแน่นในคุณพระเช่นนี้ ที่อยู่ใกล้ ๆ วัดได้ยินเสียงระฆังถนัด ในเวลาไม่เจ็บไม่ไข้อย่าง แม้ไม่ใช่วันวิสาขบูชาเมื่อได้ยินเสียงระฆังนัดไหว้พระประจำวัน ถึงกำลังรับประทานอาหารอยู่ท่านก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นจริยวัตรของท่าน การทำดังนี้ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ ท่านทำด้วยความเลื่อมใสจริง ๆ

อนึ่ง การทำวิสาขบูชานี้ ปรากฏว่าได้ทำมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยดังปรากฏตามตำนานที่กล่าวไว้ว่า "อันพระนครสุโขทัยราชธานี ถึงวันวิศาขะนักขัตฤกษ์ครั้งใด ก็สว่างไสวไปด้วยแสงประทีปเทียนดอกไม้เพลิง และสล้างสลอนไปด้วยธงชายและธงผ้า ไสวไปด้วยพู่พวงดวงดอกไม้กรองร้อยห้อยแขวน หอมตลบไปด้วยกลิ่นสุคนธรสรวยรื่น เสนาะสำเนียงเสียงพิณพาทย์ฆ้องกลองทั้งทิวาราตรี มหาชนชายหญิงพากันมากระทำกองการกุศล เหมือนจะเผยซึ่งทวารพิมาน ฟ้าทุกฉ้อชั้น" นี้แสดงว่า ในครั้งกระโน้นทำวิสาขบูชาเป็นการสนุกสนานเพิ่มพูนศรัทธาปสาทะในวัน เช่นนี้ อย่างมากมาย แต่มาในชั้นกรุงเก่ายังไม่พบหลักฐานว่าได้ทำกันมาอย่างไร มาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ เข้าใจว่ามีพิธีวิสาขบูชา เพราะปรากฏในภาพเห่เรือ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ยังไม่ได้เถลิงศิริราชสมบัติว่า

คำนึงเดือนหก
ทั่วหายกตามโคมเคย
งามสุดนุชพี่เอย
ได้เห็นกันวันบูชา

มาสมัยรัชกาลที่ ๒ จึงปรากฏว่าได้มีพิธีวิสาขบูชาเป็นแบบแผนขึ้น โดยพระ- บาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชดำริกับสมเด็จ พระสังฆราช แบบแผนขึ้น มีพระราชกำหนดเรียกว่า "พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา" ได้ทรงเกณฑ์ข้าราชการให้ร้อยดอกไม้มาแขวนไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันละร้อยพวงเศษ ทั้งประกาศไปตามอำเภอและกำนันให้บ่าวร้องราษฎร รักษาศีล ให้ชวนกันไปฟังเทศน์ เลี้ยงพระ ให้จุดโคมตามประทีปบูชา ทั้งในพระอารามและตามบ้านเรือนทั่วไป มาถึงรัชกาลที่ ๓ ได้จัดให้มีเทศน์ ปฐมสมโพธิในวันวิสาขบูชา ซึ่งยังคงใช้เทศน์อยู่จนบัดนี้ ใจความใน ปฐมสมโพธิว่าด้วยเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้และ ปรินิพพาน ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๔ ทรงเกณฑ์ให้เจ้านาย ข้าราชการ ตั้ง โต๊ะเครื่องบูชาตามรอบเฉลียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นการ ครึกครื้นสนุกสนานมาก จนเกิดเล่นเครื่องโต๊ะลายครามกันขึ้น เมื่อการเล่น เครื่องโต๊ะจืดจางลง ได้โปรดให้เปลี่ยนใหม่ เกณฑ์ให้ข้าราชการทำโคม ตราตำแหน่งมาแขวนตามศาลาราย และพระระเบียงโดยรอบเป็นการเอิก เกริกยิ่งนัก สมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราช การฝ่ายในเดินเทียนและสวดมนต์ที่พระพุทธรัตนสถานอีกแห่งหนึ่ง ในรัช- กาลที่ ๕ มา การพระราชกุศลในวันวิสาขบูชา ซึ่งเคยมีมาแต่ก่อนก็คงยืนอยู่ที่ เช่นเลขาธิการพระราชวังได้บอกบุญไปยังกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ เพื่อแจ้ง ให้ข้าราชการผู้มีจิตศรัทธา ปรารถนาจะแต่งตามประทีปโดยเสด็จพระราชกุศล จะทำโคมตรา หรือเทียนไปจุดเป็นพุทธบูชาที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามก็ได้ นี้เป็นพระราชพิธีเนื่องในการวิสาขบูชา

ส่วนที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปทำกันในวันเช่นนี้ ก็คือนำดอกไม้ธูป เทียนไปบูชาตามวัด แล้วประชุมกันตั้งแถวให้เป็นระเบียบกล่าวคำบูชาพระ คำบูชาพระนั้นมีหัวหน้าเป็นผู้ว่านำ เมื่อจบใจความของคำบูชา ต่อนั้นไปก็ จัดแถวเดินประทักษิณเวียนขวาพระสถูปหรือพระปฏิมา ๓ รอบ เรียกว่า "เดินเวียนเทียน" การเดินเวียนเทียนในขณะนั้น ข้อสำคัญต้องรักษามรรยาท และจิตใจให้สุภาพและแน่วแน่ อย่าทำไปเพราะเห็นแก่สนุกเฮฮาเบียดเสียด กัน การทำเช่นนี้เสียมาก ไม่ทำดีกว่า เมื่อจะทำทั้งทีก็ทำให้เป็นกุศลขึ้นในรอบ แรกนึกถึงพระพุทธคุณ ในรอบสองนึกถึงพระธรรมคุณ ในรอบสามนึกถึง พระสังฆคุณ เมื่อเสร็จการเวียนเทียน ก็นำเครื่องสักการะวางไว้ตามที่ที่จัด ไว้ แล้วเข้าไปในพระอุโบสถ ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมนต์และฟังเทศน์ เป็นลำดับไป เรื่องที่พระเทศน์ในวันนั้นก็เป็นเรื่องเกี่ยวแก่ประวัติของพระ พุทธเจ้า การเทศน์ในวันนั้นมีไปจนตลอดรุ่ง และผู้ฟังที่มีศรัทธาก็อยู่ฟังเทศน์ จนตลอดรุ่งเหมือนกัน เป็นการอุทิศร่างกายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆ- บูชา ในวันนั้นจริง ๆ นี้เป็นพิธีทำวิสาขบูชาของพุทธศาสนิกชนในบัดนี้

การทำวิสาขบูชานั้น ถ้าจะนึกแต่เพียงว่า ในวันเช่นนั้นเป็นวันคล้าย วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ก็เท่ากับเพียง ได้รู้ประวัติของพระองค์ การนึกบูชาเพียงเท่านี้ ไม่พอที่จะทำให้เกิดปีติปรา- โมทย์ขึ้นได้ ข้อสำคัญควรตั้งข้อกำหนดในการบูชานั้นว่า การที่พระพุทธ- เจ้าเกิด เป็นต้นเหตุของประโยชน์สูงสุดในโลก พระองค์เกิดขึ้นได้ทรง พยายามเพื่อความดี ความงามอย่างสูงสุดให้แก่โลก ไม่มีใครพยายามได้ยิ่ง กว่าพระองค์ การตรัสรู้ของพระองค์ เป็นการตรัสรู้ที่ดีและจริงอย่างที่สุด ไม่มีการตรัสรู้อันใดในโลกที่จะดีและจริงยิ่งกว่านี้ การปรินิพพานของพระ องค์เล่าก็ไม่เป็นเหตุให้พระคุณและอานุภาพของพระองค์ลีลับไปด้วยเลย แม้ จะล่วงมาตั้ง 2500 ปีเศษแล้ว พระคุณของพระองค์ก็ยังปรากฏอยู่เป็นคู่กัน ไปกับพระศาสนาของพระองค์ เหตุนี้พระประวัติของพระองค์ทั้ง 3 ตอนจึง เป็นข้อกำหนดในการบูชาใหญ่ของเราด้วยประการฉะนี้

คำบูชาเดินเทียนวันวิสาขบูชา

ยมมุห โช มย์ ภอวนุติ สรณ์ คตา โย โน ภควา สตุถา ยสุส จ มย์ ภควโต ธมฺมํ โรเจม อโหสิ โข โส ภควา มชุณเมสุ ชนปเทสุ อริยเกสุ มนุสเสฮฺ อุปุปนุโน ขตุติโย ชาติยา โคตโม โคคุเตน สกุยปุคุโต กสุกยกุลา ปพุพชิโต สเทวเก โลเก สมารเก สพรหุมเก สสุสมณ พุราหุมณิยา ปชาย สเทวมนุสุสาย อนุตุตรี สมุมาสมฺโพธิ อภิสมุ พุทุโธ นิสุสิสย์โข โส ภควา อรห์ สมุมาสมุพุทโธ วิชุชาจรณสมุปนุโน สุคโต โลกวิทู อนุตุตโร ปุริสหมุมสารถิ สตุภา เทวมบุสุสาน์ พุทโช ภควา สุวาภุขาโต โข ปนเตน ภควตา ชมฺโม สนุทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิ ปสุสิโก โอปนย์โก ปจุจตุติ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ สุปฏิปนุโน โข ปนสุส กควโต สาวกสงโฆ อุซุปฏิปนุโน ขายปฏิปนุโน สามจิปฏิปนฺโน ยทิทิ จดุตาริ ปุริสยุคานิ อฤธ ปุริสปุคุคลา อย์ โข ปน ถูโป ปฎิมา ติ ภควนต์ อุทิสุส กโต กตา ปติฎธาปียาวเทว ทสุสเนน ตํ ภควนติ อนุสุสริตุวา ปสาทส์เวคปฏิลาภาย มย์ โข เอตรหิ อิมิ วิสาขปุณฺณมิกาล์ ตสุส ภควโต ชาติสมุโพธินิพพานกาลสมุมติ ปตุวา- อิมิ ธาน สมุปตุตา อิเม ทณฺฑทิปธูปปุปผาทิสกุกาเร คเหตุวา อตุตโน กาย์ สกุการุปธาน์ กริตวา ตสฺส ภควโต ยถาภุจุเจ คุเณ อนุสุสรนุตา อิมิ ปฏิบานร์ ติดยร์ ปกชิน์ กริสาม ยาคิเลหิ สถการที ปูชิ กุรุมานา สาธุ โน ภนุเต ภควา สุจิรปรินิพพุโตบี ญาดพุเพหิ อตีตารมุมณตาย ปญุญายมาโน อิเม อเมฺหหิ คหิเต สกุการ ปฏิคคณุหาตุ อมุหากิ ที่ฆรตุติ หิตาย สุขาย.

คำแปล

เราทั้งหลายถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด เป็นพระศาสดาผู้สั่งสอนของเราทั้งหลาย ก็เรา ทั้งหลายชอบใจซึ่งธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแลเป็นผู้เกิดแล้วในมัชฌิมประเทศชนบทในหมู่แห่งมนุษย์อริยกะ อันประเสริฐทั้งหลาย พระองค์เป็นกษัตริย์โดยชาติ เป็นวงศ์อันสูงโดย โคตรเป็นศากยบุตร บรรพชาแล้วแต่ศากยตระกูล เป็นผู้ตรัสรู้พร้อม ยิ่งแล้ว ซึ่งอภิสัมโพธิญาณมีความรู้อื่นไม่ยิ่งขึ้นไปกว่า ความไม่สงสัย เชื่อแน่ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแลเป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบโดยลำพัง พระองค์ ถึงพร้อมบริบูรณ์ด้วยวิชา ปัญญาตรัสรู้แจ้งชัด แลจรณะข้อ ปฏิบัติเครื่องดำเนินถึงวิชานั้นครบครัน เสร็จไปดีแล้ว ตรัสรู้โลกแจ้งชัด เป็นสารถีฝึกบุรุษควรฝึกไม่มีสารถีผู้มีกอื่นจะยิ่งเกินพระองค์ได้ เป็นศาสดา สั่งสอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตรัสรู้แล้ว ตื่นแล้ว บานแล้ว มีคุณ ความดีเป็นที่นับถือล้นพ้น

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแลกล่าวชอบแล้ว คือพระปิยัติธรรม พระองค์ตรัสเทศนาเพื่อจะนำราคะ โทสะ โมหะ ให้สิ้นไปจากสันดานผู้ปฏิบัติ ตาม ปฏิบัติธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา กับทั้งธรรมที่เป็นอุปการะเมื่อผู้ ปฏิบัติมาปฏิบัติตาม ก็ทำกิเลสบาปธรรมให้น้อยให้เบาบางจริง ปฏิเวธธรรม คืออริยมรรค อริยผล ผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติรู้แจ้งแทงตลอดประจักษ์จริงได้ ก็ทำ ให้กิเลสสิ้นไปจากสันดานได้จริง ธรรมทั้งสาม พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวชอบ อย่างนี้ ปฏิบัติธรรม ปฏิเวธธรรม เป็นส่วนผู้ปฏิบัติตามและผู้ตรัสรู้ จะ พึงเห็นพร้อมประจักษ์แท้แน่แก่ใจ ใช่ของประกอบด้วยกาล ไม่ต้องอ้างกาล เวลาที่จะได้ผล เป็นของจริงแท้ ควรจะเรียกผู้อื่นว่า มาเถิด มาดูดังนี้ได้ ควรจะน้อมเข้ามาในตน เพราะเป็นของบริสุทธิ์ผู้รู้พิเศษทั้งหลาย ที่ได้ ปฏิบัติตามได้รู้แจ้งตลอดแล้ว จะพึงรู้แจ้งเฉพาะคนไม่ต้องเชื่อผู้อื่น

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ปฏิบัติดีดำเนินชอบแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อจะออกจากเครื่องผูกพัน ปฏิบัติชอบแท้ สาวกสงฆ์คือบุรุษสี่คู่ นับบุรุษบุคคลตามอริยมรรคอริยผล เป็นแปดบุรุษบุคคล หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าหมู่นี้ ควรจะรับทานที่บุคคลนำมาบูชา ควรจะรับสักการะเครื่องรับแขก ควรจะรับทานที่บุคคลปรารถนาบุญบริจาคให้ ควรแก่ความที่ผู้เลื่อมใสจะทำอัญชลีประณมมือไหว้กราบ ท่านเป็นไร่นาบุญของสัตว์โลก ไม่มีบุญเขตอื่นจะยิ่งขึ้นไปกว่า เพราะละกิเลสได้เป็นสมุจเฉทปหาน พระสถูปและพระปฏิมาสองนี้แล นักปราชญ์ได้อุทิศเฉพาะต่อพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทำตั้งไว้แล้วเพื่อจะให้เป็นที่ระลึกถึงพระคุณพระผู้มีพระภาคพอให้เกิดความสังเวชและเลื่อมใสจะได้เป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน เราทั้งหลายแลในครั้งนี้ มาถึงกาลวิสาขบุรณมีในวันเพ็ญเดือน 6 พระจันทร์เต็มดวงประกอบด้วยวิสาขฤกษ์ เป็นที่รู้ว่ากาลเป็นที่เกิด และตรัสรู้ และปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคนั้น ถึงพร้อมวันนี้แล้วจึงพร้อมกันถือเครื่องสักการะมีรูปเทียนดอกไม้เป็นต้นเหล่านี้ และทำกายของตนให้เป็นดังเตรียบรับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณอันจริงทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคนั้น มีสักการะอันถือไว้แล้วอย่างไร จักทำประทักษิณแทนสามรอบ ณ พระสถูปและพระปฏิมานี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคแม้ปรินิพพานนานแล้ว ยังปรากฏอยู่แต่พระคุณท่านทั้งหลาย อันจะพึงรู้ด้วยอตีตารมณ์ จงรับเครื่องสักการะอันข้าพุทธเจ้าทั้งหลายถือไว้แล้วนี้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ