เงื่อนไขคุณธรรม (ความซื่อสัตย์ / สุจริต)

"...ข้าพเจ้าใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายจงมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพราะคุณธรรมอันนี้เป็นมูลฐาน อันสำคัญที่จะยังความเจริญ และความเป็นปึกแผ่นแก่สังคม เป็นบ่อเกิด แห่งความสามัคคีกลมเกลียว ความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ หมายถึงความสุจริต ชื่อตรงต่อหน้าที่การงาน ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง มีเจตนา บริสุทธิ์ไม่เอารัดเอาเปรียบ สำหรับท่านที่ใช้วิชากฎหมาย ย่อมกินความ ถึงการรักษาความเป็นธรรม ไม่บิดเบือนความหมายของตัวบทกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของตนเองด้วยความชื่อสัตย์สุจริตจะเป็นเสมือนหนึ่ง เกราะคุ้มภัยแก่ท่านตลอดไปดังบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า "สุจริตคือเกราะบัง สาตรพ้อง".."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๖)


"...ท่านทั้งหลายที่สำเร็จการศึกษาและจะได้ออกไปประกอบ การงานเริ่มต้นชีวิตใหม่ของท่านนั้น ข้าพเจ้าขอฝากคติไว้เป็นเครื่อง กำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อยู่เสมอ คือ ความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะออกไปรับ ราชการก็ดี หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรม ทั้ง ๓ ประการคือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริต ต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของมวลชนทั่วไป... ขอให้ท่านจงรำลึกถึงเกียรตินี้และรักษาไว้ด้วยความสัตย์สุจริตให้สมกับ พุทธภาษิต ว่า "คนย่อมได้เกียรติคือชื่อเสียงเพราะความสัตย์"..."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๑๒ มิถุนายน ๒๔๙๗)


"...ท่านจะต้องสุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชนและสุจริต ต่อหน้าที่ ...นอกจากความรู้และความสุจริตประจำตัวแล้วท่านควรมี หรือตั้งจุดหมายให้แน่วแน่ในการงานที่จะกระทำนั้น แล้วใช้ความคิด ไตร่ตรองว่าจะทำอย่างไรบ้าง กิจการที่กระทำหรือดำเนินอยู่นั้นจึงจะ เจริญก้าวหน้า เกิดประโยชน์งอกงามยิ่งขึ้น...และการใช้ความคิดดังว่านี้ จำเป็นต้องใช้สติควบคุม มิฉะนั้น ก็จะเป็นความคิดที่ฟุ้งซ่านซึ่ง ประเทศชาติไม่พึงปรารถนา..."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๗ กรกฎาคม ๒๔๙๘)


"...วันนี้ขอเพิ่มเติมแก่ท่านทั้งหลายว่า อุดมคติหรือการปฏิบัติ ดำเนินการใดๆ ก็ตามจำเป็นต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง เป็นระเบียบและ สุจริตเป็นพื้นฐาน มิฉะนั้นจะไม่มีวันที่จะทำไปได้ หรือเป็นไปได้อย่าง ที่คิดเลย..."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๑๖)


"...ในฐานะที่จะเป็นครูบาอาจารย์หรือหัวหน้างานในวันข้างหน้า จำเป็นจะต้องมีความสุจริตยุติธรรม ทำตัวให้เป็นตัวอย่างและเป็นที่พึ่ง ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ความโลภ ความลืมตัว ความริษยาแตกร้าวกัน ต้องมุ่งมั่นในประโยชน์อันยั่งยืนไพศาลของ ส่วนรวมเป็นเป้าหมาย จึงจะเชื่อได้ว่า จะประสบความสำเร็จและชื่อเสียง เกียรติคุณทุกๆ ประการดังที่ปรารถนา..."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า : ๒๕ ตุลาคม ๒๕๑๖)


"...ทีนี้ได้ข่มขู่ท่านทั้งหลายอย่างรุนแรงแล้วว่าท่านต้องตายทุกคน แต่ทำไมท่านต้องหัวเราะ ก็เพราะว่าทุกคน ถ้ามีความมั่นใจจริงๆ ว่าเรา มีความซื่อสัตย์ มีความตั้งใจที่แน่วแน่ ทำอะไรไม่ใช่ทำสำหรับได้ชื่อเสียง เฉยๆ หรือได้อำนาจ แต่ทำเพื่อรักษาส่วนรวม คือ ส่วนรวมที่เป็นที่อยู่ ของเรา เป็นที่อาศัยของเรา ถ้าทุกคนมีความมุ่งมั่น ไม่คิดถึงสิ่งที่มา ข่มขู่เรา ใช้ความคิดที่เต็มไปด้วยเหตุผล..."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๑๘)


"...เช่นบอกว่าจะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ก็เห็นได้ว่า ความซื่อสัตย์สุจริตนี้ คือไม่โกง คือไม่คอรัปชั่น คือไม่ขโมย ไม่ทุจริต นี่ก็พูดได้ง่ายๆ แต่ปฏิบัติได้หรือเปล่า เพราะบางอย่างมันไม่ใช่ขโมย บางอย่างไม่ใช่คอรัปชั่น บางอย่างไม่ใช่ทุจริตแท้ แต่ว่าเป็นการทำให้ คนอื่นเขาทุจริตได้หรือเป็นการกระทำที่แสดงออกมาข้างนอกว่าไม่ทุจริต แต่ว่าเป็นการทำให้คนอื่นเขาทุจริตได้หรือเป็นการกระทำที่แสดงออกมา ข้างนอกว่าไม่ทุจริต แต่ก็ข้างในก็อาจจะทุจริตก็ได้ หรือข้างในไม่ทุจริต แต่ข้างนอกทุจริตได้ การปฏิญาณตนนั้นจึงต้องทราบและซึ้งและ ซาบซึ้ง.."

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๒๑)


"...ในที่นี้ ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะชี้ให้เห็นว่า คนเราจะแสวงหา แต่วิชาการฝ่ายเดียวไม่ได้ ผู้มีวิชาการจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติใน ตัวเองนอกจากวิชาความรู้ด้วย จึงจะนำตนนำชาติให้รอดและเจริญได้ คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับทุกคนนั้น ที่สำคัญได้แก่ ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและ การกระทำ ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความไม่มักง่าย หยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญเป็นพิเศษ คือ ความขยันหมั่นเพียร พยายามฝึกหัดประกอบการงานทุกอย่างด้วยตนเองด้วยความตั้งใจ ไม่ละเลยไม่ทอดทิ้ง คุณสมบัติเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะทำให้ การศึกษาสมบูรณ์เป็นประโยชน์จริงเป็นสิ่งซึ่งครูจะต้องปลูกฝังให้เจริญขึ้น ในตัวนักเรียนให้ครบถ้วน เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นคนเต็มคน เป็นคนที่ สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเองและประเทศชาติได้..."

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฆ : ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๒)


"...การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง สามารถในการประสาน สัมพันธ์กับผู้อื่นอีกอย่างหนึ่ง. ทั้งสองประการนี้ต้องดำเนินคู่กันไป และ จำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกายสุจริตใจ ด้วยความคิดเห็น ที่เป็นอิสระปราศจากอคติ และด้วยความถูกต้องตามเหตุตามผลด้วย จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน แท้จริง. .…"

(พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน : ๗ มีนาคม ๒๕๔๘)