โสณนันทชาดก

...ฯลฯ...

ขึ้นชื่อว่ามารดาท่านเป็นผู้ทรงคุณเป็นเอนกนัก น้องอย่าประมาทปรนนิบัติท่านไปเถิด เมื่อจะประกาศคุณของมารดา จึงภาษิตสองคาถาว่า

อนุกมุปกา ปติอุธา จปุพเพ รสทที่ จ โน
มคุโค สคุคสุส โลกสุสมาตา ติ วร เต อิเส ฯ
ปุพเพ รสทที่ โคตตีมาตา ปุญญูปสญฺหิตา
มคุโค สคุคสุส โลกสุสมาตา ติ วร เต อิเส ฯ

มารดาเป็นผู้อนุเคราะห์ เป็นที่พึ่งแลเป็นผู้ให้กษีรรสในเบื้องต้นแก่เราทั้งหลาย เป็นมรรคาแห่งโลกสวรรค์ แน่ะฤษีผู้น้อง บัดนี้ มารดาเลือกน้องไว้ปรนนิบัติ ฯ มารดาผู้ให้กษีรรสในเบื้องต้น แลปกครองเราทั้งหลายมา เป็นที่ตั้งแห่งบุญกุศล เป็นมรรคาแห่งโลกสวรรค์ แน่ะฤษีผู้น้อง บัดนี้ มารดาเลือกน้องไว้ปรนนิบัติ ฯ

เมื่อพระโพธิสัตว์พรรณนาคุณมารดาแก่น้องชายด้วย ๒ คาถานี้แล้ว พอมารดากลับมานั่งอาสนะเดิม จึงกล่าวอีกว่า น้องได้มารดาผู้ทำกิจที่ทำได้ยากไว้ปรนนิบัติแล้ว เราแม้ทั้ง ๒ มารดาได้ประคับประคองมาโดยลำบาก บัดนี้น้องอย่าประมาทปรนนิบัติท่านไปเถิด อย่าให้ท่านบริโภคผลาผลที่ไม่ดีอีกนะ เมื่อจะประกาศความที่มารดาเป็นผู้ทำกิจอันยากที่จะทำ จึงภาษิตคาถาเป็นอันมากว่า

อากงุขมานา ปุตุตผลเทวตาย นมสุสติ
นกุขตุตานิ จ ปุจฉติอุตุสิวจณรานิ จ ฯ

มารดาเมื่อปรารถนาผลคือบุตร ย่อมนอบนบเทพดา แลไต่ถามฤกษ์ฤดูและปีทั้งหลายต่อผู้รู้ (ที่จะได้แก่ดูหมอ) ฯ

(อรรถกถาธิบาย มีว่า) มารดาเมื่อปรารถนาเช่นนั้น ย่อมนอบน้อมบวงสรวงเทพดาว่า ขอให้ข้าพเจ้ามีบุตรเถิด และถามฤกษ์ยามต่อผู้รู้ว่า บุตรคลอดฤกษ์ไหนอายุยืน ฤกษ์ไหนอายุไม่ยืน เป็นต้น และถามถึงฤดูว่าใน ๖ ฤดู บุตรเกิดฤดูไหนอายุยืน ฤดูไหนอายุไม่ยืน หรืออีกนัยหนึ่งว่า มารดามีอายุได้เท่าไรมีบุตรอายุจึงจะยืน และเท่าไรอายุบุตรไม่ยืน เป็นต้น และถามถึงปีก็นัยนั้น ฯ

ตสุสา อุตุสิ นุหาตายโหต่ คพุกสุสวกุกโม
เตน โทหพิน์ โหติสุหทา เตน วุจจต์ ฯ

เมื่อมารดาอาบในฤดูแล้ว ครรภ์ก็ตั้ง และการให้แพ้ห้อง เหตุนั้นบัณฑิตจึงเรียกว่า สุหทา หญิงมีใจดีฉะนี้ ฯ

(อรรถกถาธิบาย มีว่า) เมื่อฤดูเกิดแล้ว มารดาอาบในฤดูแล้ว ครรภ์ก็ตั้งเพราะ เหตุประสงค์เนื่อง ประชุมกัน เพราะเหตุครรภ์ตั้งขึ้นจึงเกิดแพ้ห้อง ครั้งนั้นมารดาเกิดความรักในบุตรธิดา ซึ่งเป็นประชากรเกิดในท้องของตน ดังนั้นท่านจึงเรียกว่า สุหทา หญิงมีใจดี ฯ

สวจุฉริ วา อูนิ วาปรหรัตุวา วิชายต์
เตน สา ชนยนุตี จชเนตุติ เตน วุจฺจติ ฯ

มารดานั้นบริหารครรภ์มาราวปีหนึ่ง หรือหย่อนกว่า ก็คลอดบุตร เหตุนั้นบัณฑิตจึงเรียกว่า ชนยนุตี บ้าง ชเนตุตี บ้าง ว่าผู้ทำให้บุตรเกิด (แปลเหมือนกันทั้งสองศัพท์) ฯ

ถนกุขีเรน คีเตนองุคปาวุรเณน จ
โรทนุติ ปุตุติ โตเสติโตเสนุต์ เตน วุจจต ฯ

ครั้นบุตรร้องไห้ มารดาก็ปลอบให้แช่มชื่นด้วยให้ดื่มนมบ้าง ด้วยขับกล่อมบ้าง ด้วยอุ้มประทับไว้กับทรวงบ้าง เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกว่า โตเสนุตี ผู้ปลอบบุตรให้ แช่มชื่น ฯ

ตโต วาตาตเป โฆเรมมุมิ กตุวา อุทิกุชติ
ทารกิ อปุปชานนุติโปเสนุตี เตน วุจจติ ฯ

ลำดับนั้น มารดาแลเห็นบุตรซึ่งยังเป็นเด็กไม่รู้จักความ เล่นอยู่ในกลางลมกลางแดดที่จัด ก็เข้ารับขวัญด้วยหทัยรักสนิท เหตุนั้นบัณฑิตจึงเรียกว่า โปเสนุตี ผู้เลี้ยงดูบุตร ฯ

ขญฺจ มาตุ ธน์ โหตยญจ โหติ บีตุทุธน
อุภยมุเปตสุส โคเปติอบี ปุตุตสุส โน สิยา ฯ

มารดาย่อมสงวนทรัพย์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดาไว้ ด้วยหมายใจว่า จะได้เป็นของ ๆ บุตรเราทั้งหลายดังนี้ ฯ

เอว์ ปุตุต อทุ่ ปุตุตอิติ มาตา วิหญญติ
ปมตุติ ปรทาเรสุนิสุสิเวโด ปตุตโยพุพเน
สาย์ ปุตุติ อนายนุติอิติ มาตา วิหญญติ ฯ

มารดาเมื่อต้องสั่งสอนบุตรอยู่ร่ำไร ว่า อย่างนี้ อย่างโน้น ก็ลำบาก แลเมื่อบุตรรุ่นหนุ่มกำลังคะนองมัวเมาไปในปรทารกรรม จนมืดค่ำก็ยังไม่กลับบ้าน มารดาตั้งแต่จะร้อนใจ ฟูมฟายน้ำตาคอยหาบุตรอยู่ ฯ

เอวิ กิจุฉาภโต โปโสมาตุ อปริจาริโก
มาตริ มิจุฉา จริตุวานนิรย์ โส อุปปชุชติ ฯ

บุตรอันมารดาเลี้ยงดูมายากแค้นถึงปานนี้แล้ว แลไม่บำรุงท่านตอบ บุตรนั้นจัดว่าประพฤติผิดในมารดา ย่อมเข้าถึงฐานะอันหาความเจริญมิได้เลย ๆ

เอวิ กิจุฉาภโต โปโสบีตุ อปริจาริโก
บีตริ มิจุฉา จริตุวานนิรย์ โส อุปปชุชติ ฯ

(แปลเหมือนอันต้น ต่างแต่เปลี่ยนว่า บิดา ในที่แห่ง มารดาเท่านั้น) ฯ

ธนมุปี ธนกามานีนสุสติ อิติ เม สุติ
มาตริ อปริจริตุวานกิจฺฉิ วา โส นิคจุฉติ ฯ

เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์สมบัติที่เกิดแก่บุตรผู้มีความอยากได้ทั้งหลาย ย่อมจะฉิบหายไป หรืออีกอย่างหนึ่ง บุตรนั้นย่อมจะถึงความทุกข์ยากเป็น เที่ยงแท้ ฯ

ธนมุปี ธนกามานีนสุสติ อิติ เม สุติ
บีตริ อปริจริตุวานกิจฉิ วา โส นิคจุณติ ฯ

(แปลเหมือนอันต้น ต่างแต่เปลี่ยนว่า บิดา ในที่แห่ง มารดาเท่านั้น) ฯ

อานนุโท จ ปโมโท จสทา หสิตก็ พิติ
มาตริ ปริจริตุวา นลพุเมติ วิชานตา ฯ

ความรื่นเริงบันเทิงจิต แลความเล่นหัวในการทุกเมื่อ ทั้งนี้บัณฑิตผู้รู้เหตุผล ประจักษ์จะพึ่งได้ ก็เพราะบำรุงมารดา ฯ

อานนุโท จ ปโมโท จสทา หสิตก็พิติ
บีตรี ปริจริตวานลพุกเมติ วิชานตา ฯ

(แปลเหมือนอันต้น ต่างแต่เปลี่ยนว่า บิดา ในที่แห่ง มารดาเท่านั้น) ฯ

ทานญฺจ ปิยวาจา จอัตถจริยา จ ยา อิธ
สมานนุตตา จ ธมฺเมสุตฺตุ ตฺตุ ยถารหํ
เอเต โข สงคหา โลเกรถสุ สาณิว ยายโต ฯ

สังคหวัตถุทั้งหลาย คือทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจาให้น่ารัก อัตถจริยา ประพฤติให้เป็นประโยชน์ ๑ สมานัตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามควรในที่นั้น ๆ ๑ สี่ประการเหล่านี้แล ย่อมมีในโลก เหมือนเพลามีแก่รถ ๆ จึงแล่นไปได้ฉะนั้น ฯ

(อรรถกถาธิบาย มีว่า) บุตรควรให้วัตถุที่ควรให้แก่มารดาบิดาทั้งหลาย ควรกล่าวคำอ่อนหวานต่อท่าน ควรช่วยเหลือในกิจที่เกิดขึ้นแก่ท่านให้สำเร็จไป ซึ่งจัดเป็นการประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ท่าน ควรกระทำตนให้สม่ำเสมอในธรรมคือสัมมาคารวะต่อท่าน โดยอปจายนะวิธี มีกราบไหว้เป็นต้น ทั้งในท่ามกลางบริษัททั้งในที่ลับ หาเป็นแต่ทำในที่ลับแลในชุมชนมิใช่ทำไม่ ฯ

เอเต จ สงฺคหาทิสมุทฺธานสุสุมาตา ปุตตกาเรณา
ลเภถ มานิ ปูชิ วาบีตา วา ปุตตกาเรณา ฯ

ผิสังคหะวัตถุทั้งหลายนี้ จะไม่พึงมีในโลก มารดาหรือบิดาก็จะพึงไม่ได้รับความนับถือแลความบูชา เพราะเหตุบุตรเลย ฯ

บัญฺญา จ สงฺคหา เอเตสมุปเฏฺฐกา ชนตุ ปณฺฑิตา
ตสุมา มหตาติ ปปุโปนุ ฯ

เหตุใดบัณฑิตทั้งหลาย มาพิจารณ์เห็นสังคหะวัตถุเหล่านั้นว่าเป็นกิจควรทำแท้ เหตุนั้นบัณฑิตทั้งหลายนั้น ย่อมถึงความเป็นคนใหญ่คนโตได้ ทั้งเป็นผู้ได้รับความยกย่องสรรเสริญด้วย ฯ

ปุราหุ มาตาปิตโรปุพพาจริยาติ วุจญฺจเร
อาหุนยิยา จ ปุตตานิปจาย อนุกมฺปกา ฯ

มารดาบิดาทั้งหลายผู้กรุณาแก่บุตรธิดาซึ่งเป็นประชาของตน บัณฑิตย่อมเรียกว่าเป็นมหาพรหมบ้าง บุรพาจารย์บ้าง อาหุเนยยะบุคคลบ้าง ของบุตรทั้งหลาย ฯ

ตสุมา หิ เต นมสุเสยฺยสกุคเรยุยาถ ปณฑิตา
อนุเญน อโถ ปาเนนวิตุเถน สยเนน จ
อุจจาฎเนน นูหาปเนนปาทานิ โธวเนน จ ฯ

เพราะเหตุนั้นแล บุตรผู้มีปรีชาควรนอบน้อมสักการมารดาบิดาทั้งหลายด้วยข้าวน้ำ ผ้านุ่งห่มและที่นอน ด้วยให้อาบน้ำทาของหอม และล้างเท้าเป็นต้น ฯ

ตาย นํ ปาริจริยายมาตาปิตสุ ปณฺฑิตา
อิเธว น ปสงฺสนุติเปจฺจ สคเค ปโมทติ ฯ

เพราะความบำรุงในมารดาบิดาทั้งหลายนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรผู้มีปรีชานั้นในโลกนี้ ครั้นเขาละโลกนี้ไปแล้ว ก็ยังจะปราโมทย์ในโลกสวรรค์อีก ฯ