ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโต การสะสม และการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนของแหนแดง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธัญลักษณ์ จันโท, ธนพล ทุมพันธ์, ดุษฎี สงไทย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วุฒิพงศ์ ดวงอาสงฆ์, ณัฐพัชร์ งานไว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนรร.พิศาลปุณณวิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

แหนแดงเป็นเฟิร์นนํ้า (Water Fern) ขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกในนาข้าวเพื่อใช้เพิ่ม ปริมาณไนโตรเจน โดยนิยมมาใช้ทำปุ๋ยพืชสดเพื่อเป็นการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต อย่างไรก็ตามแหนแดงนิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสดสำหรับในนาข้าวเท่านั้น ยังไม่ได้นำมาเพาะเลี้ยงและใช้ประโยชน์ในรูปของปุ๋ยหรือวัสดุปรับปรุงดิน ดังนั้น โครงงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการสะสมและการปลดปล่อยธาตุอาหารของแหนแดงที่เพาะเลี้ยงในน้ำหมักชีวภาพ สำหรับใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน โดยทำการเพาะเลี้ยงแหนแดงในน้ำหมักชีวภาพที่ระดับความเข้มข้น 0 2 4 6 8 และ 10 เปอร์เซ็นต์เป็นระยะเวลา 1 เดือน เพื่อให้ได้แหนแดงที่มีปริมาณของธาตุไนโตรเจนสูง รวมทั้งการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจน เพื่อสามารถนำไปพัฒนาสู่การเพาะเลี้ยงแหนแดงเพื่อเป็นวัสดุปรับปรุงดินสำหรับทดแทนหรือลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง