เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสีย้อมโครโมโซมจากข้าวในท้องถิ่น

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐณิชา เพชรจำรัส, กันตนา ชูจินดา, ฮานีต้า เอียดขาว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุวิมล เส็มแล๊ะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมัธยมเกาะหมาก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการย้อมติดสีโครโมโซม ของสีที่สกัดจาก ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสังข์หยด ข้าวเหนี่ยวดำ ข้าวหอมนิล และข้าวก่ำลืมผัว โดยใช้กรดอะซิติก 1 โมลในเอทานอลและกรดไฮโดรคลอริก 1 โมลในเอทานอลที่อัตราส่วน 1:1 และ 1:2 โดยใช้ระยะเวลา 24 ช.ม, 48 ช.ม และ72 ช.ม และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการติดสีย้อมโครโมโซมที่ดีที่สุดโดยใช้ตัวทำละลายต่างกัน และศึกษาอายุการใช้งานและคุณภาพของสีย้อมโครโมโซมที่สกัดจากข้าวเหนี่ยวดำ ในช่วงระยะเวลา 1 วัน, 30 วัน และ 60 วัน จากการทดลองพบว่า สีที่ได้จาก ข้าวเหนียวดำ สามารถย้อมติดสีบนโครโมโซมได้ชัดเจน และสีที่ได้จากข้าวก่ำลืมผัว ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และ ข้าวหอมนิล สามารถย้อมสีบนโครโมโซมได้ใกล้เคียงกับสีสังเคราะห์ สีจากข้าวสังข์หยด ติดสีย้อมโครโมโซมได้น้อยมาก และตัวทำละลายกรดไฮโดรคลอริก ความเข้มข้น 1 โมลในเอทานอล สามารถย้อมติดสีบนโครโมโซมได้ดีกว่าสารสกัดสีที่ได้จากตัวทำละลายกรดอะซิติก ความเข้มข้น 1 มูล ในเอทานอล และอัตราส่วน 1 : 1 (ตัวอย่าง : ตัวทำละลาย) ให้สีที่มีความเข้มข้นมากที่สุด เนื่องจากอัตราส่วนตัวทำละลายที่มากขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของสีน้อยลง สีที่ถูกสกัดออกมาจึงมีสีจาง และจากการศึกษาอายุการใช้งานและคุณภาพของสีย้อมโครโมโซมที่สกัดจากข้าวเหนี่ยวดำ ในช่วงระยะเวลา 1 วัน 30 วัน และ60 วัน พบว่าในช่วงระยะเวลา 1 วัน สีย้อมโครโมโซมสามารถติดสีย้อมได้ดี และเมื่อวางทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง เป็นระยะเวลา 30 วัน และ 60 วัน ให้ผลว่า สียังมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และการตกตะกอนของแป้ง นอกจากนี้สีย้อมโครโมโซมที่ได้ยังทำได้ง่าย ราคาถูก และยังเป็นการใช้ประโยชน์จากพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น