การคัดเลือกเปปไทด์จากแมงดาทะเล (Tachypleus tridentatus) ด้วยเทคนิคชีวสารสนเทศในการยับยั้งมะเร็งลำไส้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

คณพศ เล่งเวหาสถิตย์, อัศม์เดช ชุมเกตุ, คณพศ ทิวัฑฒานนท์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ทิพนาถ น้อยแก้ว, ปราโมทย์ ชำนาญปืน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบในเพศชายป็นอันดับที่ 2 และพบในเพศหญิงเป็นอันดับที่ 3 ของผู้ป่วยมะเร็งเทั้งหมดในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งวิธีการรักษามะเร็งชนิดนี้หลักๆ ก็คือการผ่าตัด, รับยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี แต่การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก เป็นต้น ซึ่งการใช้สารจากธรรมชาติ เช่น เปปไทด์จะช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ โดยกลุ่มของพวกเราสนใจที่จะนำ hemolymph ของแมงดาทะเลญี่ปุ่น (Tachypleus tridentatus) เนื่องจากมีจากมีงานวิจัยที่บอกไว้ว่ามีโปรตีนใน hemolymph ของแมงดาทะเลญี่ปุ่นที่มีคุณสมบัติ ในการต้านมะเร็ง เราจึงเลือกเอา 3 โปรตีนที่พบมากใน hemolymph ของแมงดาทะเลญี่ปุ่น ได้แก่ Lectin Hemocyanin และ C-Reactive Protein มาจำลองการตัดด้วย Trysin แล้วนำมาคัดเลือกเปปไทด์ที่มีความสามารถในการต้านมะเร็งลําไส้ และมีผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อยที่สุด เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือใช้ควบคู่กับยาเคมีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาให้น้อยลง โดยเปปไทด์ที่ผ่านการคัดเลือกจะนำมาศึกษาและทำนายคุณสมบัติต่างๆของเปปไทด์นั้นๆ ด้วย