แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการคาดการณ์ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบโดยใช้กระบวนการประมวลผลภาพ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วิรัลพัชร จิรัฐิติเจริญ, อภิปรียา ปวบุญสิริวงศ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พรรษ วติวุฒิพงศ์, พิมพ์ศิริ ด่านพิษณุพันธุ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
พืชสามารถผลิตอาหารได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จากการศึกษาพบว่า คลอโรฟิลล์ในพืชมีหน้าที่ทำให้เกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากนี้ ปริมาณคลอโรฟิลล์ต่อพื้นที่ของใบพืชถูกใช้เป็นดัชนีของพืช ทั้งในด้านความเครียดของพืช ปริมาณแร่ธาตุของพืช และการกลายพันธุ์ของพืช อย่างไรก็ตามการวัดค่าปริมาณคลอโรฟิลล์จากใบพืชโดยใช้เทคนิค spectroscopic และ chromatographic ต้องเก็บตัวอย่างใบออกจากพืช และยังสร้างความเสียหายให้กับใบไม้ รวมทั้งใช้ระยะเวลานานเพื่อจะได้ค่าคลอโรฟิลล์ที่ต้องการ ทางผู้จัดทำโครงงานจึงมีความสนใจในการนำความรู้ด้านคณิตศาสตร์มาใช้สร้างแบบจำลองเพื่อเพิ่มวิธีการในการประมาณค่าปริมาณคลอโรฟิลล์จากใบพืช ให้สามารถวิเคราะห์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่เป็นการทำลายใบ อีกทั้งจะช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่มากขึ้น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของลักษณะต่างๆ ของใบ และปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ ดังนั้นในการศึกษานี้ ผู้จัดทำโครงงานเลือกใช้ตัวแปรค่าสีแดง เขียวและน้ำเงิน (RGB) ของใบ พื้นที่ใบ ความหนาแน่นเส้นใบแบบคิดเป็นสัดส่วนพื้นที่ และแบบโครงร่างเส้น รวมทั้งตัวแปรจากการกายวิภาคของใบ มาทำการประมวลผลภาพ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์แบบ multiple stepwise linear regression และสร้างแบบจำลองหลากหลายรูปแบบจากกลุ่มของตัวแปร เพื่อหาแบบจำลองที่มีความแม่นยำที่สุดในการคาดการณ์ปริมาณคลอโรฟิลล์