เครื่องช่วยตรวจข้อสอบ เรียงและนับกระดาษโดยประดิษฐ์จากปริ้นเตอร์ที่พังแล้ว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธัชนนท์ คันศร, ศิริรุ่ง บัวรินทร์, หนึ่งฤทัย ไชยรัตน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ธวัชชัย แก่นจักร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนน้ำคำวิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันการใช้เครื่องพิมพ์(Printer) มีความแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นร้านถ่ายเอกสาร สำนักงาน หรือแม้กระทั่งโรงเรียนก็มีเครื่องพิมพ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการใช้งานบ่อยครั้ง เมื่อเกิดความเสียหายก็ส่งซ่อม เมื่อนานๆ เข้า ราคาเครื่องพิมพ์ถูกลง จึงจำเป็นต้องทิ้งเครื่องพิมพ์เครื่องเดิม แล้วซื้อเครื่องพิมพ์ใหม่ ทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ นักเรียนได้สังเกตเห็นว่าในเครื่องพิมพ์ที่ถูกปล่อยทิ้ง ยังสามารถหมุนได้หรือขยับได้เมื่อมีการเสียบปลั๊ก จึงนำอุปกรณ์ที่ยังสามารถทำงานได้ เช่น เซ็นเซอร์ มอเตอร์ ถาดดึงแผ่นกระดาษ เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาสร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์ในชุมนุม “นักประดิษฐ์น้อย” ได้ ประกอบกับครูประจำชุมนุมได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ KidBright to school และร่วมอบรมการพัฒนาโปรแกรมมิ่ง KidBrightIDE สั่งให้บอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright ทำงานได้ คล้าย Arduino แต่ไม่จำเป็นต้องเขียนคำสั่งภาษาที่ยุ่งยาก ทั้งยังสามารถแสดงผลผ่านและควบคุมผ่านแอพพลิเคชั่น KidBright IoT ได้ โดยปกติครูประจำชุมนุมมักจะสนใจในเทคโนโลยี มีการนำร่องในการใช้แอพพลิเคชั่น ZipGarde ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นช่วยตรวจข้อสอบแบบฝนคำตอบ เมื่อตรวจข้อสอบเสร็จแล้ว โทรศัพท์จะสั่น ถึงแม้ว่าการตรวจข้อสอบแบบใช้โทรศัพท์จะสะดวก แต่ก็ยังติดปัญหาเรื่องการเปลี่ยนกระดาษคำตอบ เพราะไม่มีเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวก นักเรียนจึงได้รวมแนวคิด สร้างเครื่องช่วยตรวจข้อสอบ โดยสั่งให้ปุ่มที่ 1 ให้ Output ทำงาน มอเตอร์หมุน เมื่อกระดาษผ่านเซ็นเซอร์ ให้ส่งข้อมูลไปแสดงผลที่หน้าจอ LED หรือ Gauge ให้นับกระดาษ เมื่อกระดาษผ่านเครื่องพิมพ์ออกไปแล้ว โทรศัพท์จะตรวจข้อสอบแล้วสั่น ให้นำสัญญาณสั่นส่งไปที่ Input แล้ว ให้วนซ้ำโดยไม่ผ่านคำสั่งปุ่มที่ 1 เมื่อกดปุ่มที่ 2 ให้เป็นโปรแกรมเรียงหน้ากระดาษหรือนับกระดาษ โดยใช้หลักการคล้ายปุ่มที่ 1 แต่จะไม่มีการตรวจจับการสั่น ก็จะได้ เครื่องช่วยตรวจข้อสอบ เรียงและนับกระดาษโดยประดิษฐ์จากปริ้นเตอร์ที่พังแล้ว