กังหันพลังงานแสงอาทิตย์ดูดซับน้ำเสียแบบกำจัดกลิ่นด้วยวัสดุธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ไพชยนต์ สุขมี, ฐิติวุฒิ วรรณวุฒิ, สุวัฒน์ หาญสุโพธิ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สมชาย เอี่ยมสอาด
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กังหันพลังงานแสงอาทิตย์ดูดซับน้ำเสียแบบกำจัดกลิ่นด้วยวัสดุธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับด้วยวัสดุธรรมชาติ 2.ศึกษาประสิทธิภาพการดับกลิ่น ด้วยพืชสมุนไพร 3. ศึกษากังหันพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยบำบัดน้ำเสีย กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์จากผลงาน 1.ชุมชนในแหล่งโรงงานอุตสาหกรรม 2.เกษตรกรที่ใช้น้ำในการบริหารจัดการ แนวคิดการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ 1.เป็นเครื่องคล้ายกังหันน้ำ 2 ข้างเพื่อใช้ในการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ( ดูรูปแบบจากน้ำชัยพัฒนา ) 2.บนเครื่องกังหันจะมีแผงโซล่าเซลล์ เก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ใช้ในการหมุนกังหันตลอดเวลา 3.ตัวเครื่องกังหันออกแบบโดยใช้ถังน้ำที่เหลือใช้ เพื่อพยุงเครื่องไม่ให้จม 4.แผ่นดูดซับ ที่สามารถดูดซับน้ำเสียและกลิ่น โดยใช้จากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งจะวางในชั้นที่ติดกับผิวน้ำ
5.วัสดุธรรมชาติที่ต้องศึกษาว่าพืชชนิดใดที่ช่วยดูดซับน้ำเสีย และดูดซับกลิ่นโดยจะต้องผลิตขึ้นมาเพื่อทดลองหาประสิทธิภาพ ขั้นตอนหลักการทำงาน แผงโซล่าเซลล์ ทำหน้าที่รับพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานที่ได้มาส่งไปยังตัวเก็บประจุเพื่อนำพลังงานที่แปลงแล้วนำไปใช้หมุนกังหัน โดยกังหันทำให้เพิ่มออกซิเจนในน้ำช่วยให้คุณภาพน้ำดีขึ้น ซึ่งเครื่องกังหันสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ลักษณะพิเศษเพิ่มเติมคือตัวกังหันได้มีพื้นที่ไว้สำหรับใส่แผ่นซับที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ สามารถที่จะดับกลิ่นและดูดคาบน้ำมัน สารพิษ ที่ทำให้น้ำเน่าเสียสามารถถอดเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม โดยแผ่นดูดซับนี้ได้ทดลองหาประสิทธิภาพของวัสดุที่จะมาทำเป็นตัวดูดซับ ส่วนประกอบของตัวดูดซับนี้จะมีอัตราส่วนของพืชและวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ต้นธูปฤาษี ผักตบชบา แกลบ รวมถึงถ่านซึ่งจะช่วยดับกลิ่น ซึ่งแผ่นซับนี้ต้องทดลองหาส่วนผสมที่สามารถนำไปใส่ไว้กับเครื่องกังหันทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้นและไม่มีกลิ่น ผลที่จะได้รับ ชุมชนที่อยู่ใกล้เขตโรงงานอุตสาหกรรมได้น้ำที่สะอาด ไม่มีกลิ่นอยู่ร่วมกับสังคม สามารถนำน้ำที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมไปใช้ทางการเกษตร ฝ่ายเจ้าของโรงงานยังได้ประโยชน์และช่วยดูแลสภาพชุมชน ในเขตพื้นที่ทำให้ประชาชนอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข