เเผ่นคลุมดินชีวภาพจากไคโตซานผสมกับชานอ้อยเเละผสานด้วยน้ำยางพารา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กันตา ปาทาน, ญานิตา ธิเดช
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วัชราภรณ์ แสนนา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
โรงเรียนสถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตแผ่นพลาสติกชีวภาพคลุมดินทดแทนแผ่นพลาสติกคลุมดินแบบทั่วไปเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างแผ่นพลาสติกชีวภาพคลุมดินและแผ่นพลาสติกคลุมดินแบบทั่วไป ทำการทดลองโดยการนำไคโตซาน ชานอ้อย ยางพารา มาศึกษาอัตราส่วนและทำการขึ้นรูปเป็นแผ่นพลาสติกชีวภาพ และนำมาทดสอบประสิทธิภาพการดูซึมน้ำ การเก็บรักษาความชื้นในดิน ค่า pH ค่าอุณหภูมิในดิน ปริมาณเปอร์เซ็นต์ความชื้นในดิน ความชื้นสัมพัทธ์ วิเคราะห์ปริมาณสารอาหารในดินได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) และทดสอบสมบัติทางกายถาพของแผ่นฟิล์ม คือ ความยืดหยุ่น และความหนา ผลการทดลองพบว่าพลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากไคโตซาน ชานอ้อย ยางพารา มีประสิทธิภาพการดูดซึมน้ำ เก็บรักษาความชื้นในดินทำให้มีปริมาณเปอร์เซ็นต์ความชื้นในดิน ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณสารอาหารได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) สูงกว่าพลาสติกตามท้องตลาด พบว่ามีความยืดหยุ่นามารถทนแรงดึงได้ถึง 15 นิวตัน และเมื่อใช้พลาสติกคลุมดินชีวภาพพบว่าไม่ส่งผลต่อค่า pH และยังสามารถรักษาอุณหภูมิในดินได้ ดังนั้นพลาสติกคลุมดินชีวภาพจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่มีการใช้พลาสติกคลุมดินเพื่อช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก และยังมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่พืช ช่วยให้พืชมีสุขภาพดี สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
คำสำคัญ : พลาสติกชีวภาพคลุมดิน , ปริมาณสารอาหารในดิน , เปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์