ผลของสารสกัดแอนโทไซยานินจากข้าวเหนียวดำและสารช่วยติดสีต่อประสิทธิภาพของสีย้อมโครโมโซม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อดิศา เทศอาเส็น, วิลาศินี สุวรรณชาตรี, ฮาดิษ มรรคาเขต
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวตี มัจฉา, วิไลพร กลิ่นสุคนธ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของสีย้อมโครโมโซมจากข้าวเหนียวดำโดยใช้ตัวทำละลาย และอัตราส่ววนข้าวเหนียวดำต่อตัวทำละลายต่างกัน และผลของสารช่วยติดสีที่มีต่อประสิทธิภาพในการย้อมสีบนโครโมโซม ทำการทดลองโดยสกัดสีย้อมโครโมโซมจากข้าวเหนียวดำ ใช้ตัวทำละลาย คือ แอลกอฮอล์ 70% แอลกอฮอล์ 95% น้ำส้มสายชูกลั่น 5% และน้ำกลั่น ที่อัตราส่วน 1:1 และ 1:2 พบว่า สีย้อมโครโมโซมที่สกัดจากข้าวเหนียวดำ ใช้ตัวทำละลาย คือ แอลกอฮอล์ 70% ที่อัตราส่วน 1:1 มีค่า M เฉลี่ยมากที่สุดเมื่อเทียบกับสีอะซิโตคาร์มีน รองลงมาคือ แอลกอฮอล์ 70% ที่อัตราส่วน 1:2 น้ำส้มสายชูกลั่น 5% ที่อัตตราส่วน 1:2 และ น้ำส้มสายชูกลั่น ที่อัตราส่วน 1:1 ตามลำดับ ในการสกัดสีย้อมโครโมโซมจากพืช พืชแต่ละชนิดจะมีตัวทำละลายที่สามารถ สกัดสีย้อมโครโมโซมของพืชชนิดนั้นได้ดีที่สุด ดังนั่นในการสกัดสีย้อมโครโมโซมจากข้าวเหนียวดำตัวทำละลายที่เหมาะสมที่สึด คือ แอลกอฮอล์ 70% ที่อัตราส่วน 1:1 เมื่อใช้น้ำมะนาวและน้ำฝรั่งเป็นสารช่วยติดสี พบว่า น้ำมะนาวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการติดสีบนโครโมโซมของสีย้อมโครโมโซมได้ดีกว่าในสภาวะที่ไม่ใช้น้ำมะนาวเป็นสารช่วยติดสี ส่วนน้ำฝรั่งไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการติดสีบนโครโมโซมของสีย้อมโครโมโซม เนื่องจากมะนาวมี่ฤทธิ์เป็นกรดอ่อน จึงสามารถช่วยในการติกสีบนโครโมโซมได้ดี