การพัฒนาระบบธนาคารขยะของโรงเรียน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กฤษฎา เมืองราช, ธีระยุทธ ลีลา, นภัสธร จูมศรีราช
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุนทร โชครื่นเริง, พัณณ์วรา ชัยสิทธิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทที่ 1
บทนำ
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของประชากร และความสะดวกในการดำรงชีวิตทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น ประกอบกับการขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะมูลฝอย จนกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญของหน่วยงานท้องถิ่น ปัจจุบันการจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นโดยการนำขยะมูลฝอยทั้งหมดไปสู่กระบวนการกำจัด ซึ่งในปริมาณดังกล่าว มีวัสดุที่ยังมีมูลค่าสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้โดยตรง(Reuse) หรือการนำไปผ่านกระบวนการเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) รวมทั้งขยะมูลฝอยบางส่วนที่สามารถนำมาแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปของปุ๋ยหมัก ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการขาดความรู้ ความเข้าใจและจิตสำนึก เกี่ยวกับขยะมูลฝอยของประชาชนและนักเรียนในท้องถิ่น จึงได้มีการจัดตั้งธนาคารขยะในสถานศึกษาขึ้น
ขยะหากจะกล่าวถึงคำๆนี้ ส่วนใหญ่ทุกคนคงนึกถึงของเสีย สิ่งปฏิกูล สิ่งที่เป็นปัญหาที่ควร นำไปกำจัดทิ้ง แต่ถึงจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรกำจัดทิ้งก็ใช่ว่าทุกคนที่สร้างขยะจะมีส่วนร่วมในการจัดการกับ ขยะที่แต่ละคนได้ก่อขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ต่างมองว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวม ขนส่ง และนำไปกำจัด แต่ในความเป็นจริง การจัดการขยะควรจะเป็น หน้าที่ของทุกคนที่เป็นผู้ก่อขยะเหล่านี้ขึ้นมา ดังนั้นหากต้องการให้ปัญหาการจัดการขยะสามารถจัดการได้ง่าย ขึ้นลดปริมาณขยะที่ตนเองเป็นคนสร้างก็ควรอาศัยความร่วมมือของพวกเราทุกคน ธนาคารขยะโรงเรียน คือ รูปแบบหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อลดปริมาณขยะ ส่งเสริมการคัดแยกขยะ โดยเริ่มต้น ที่โรงเรียนเป็นหลัก โดยเริ่มจากจัดให้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแนวคิด วิธีการดำเนินงาน การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ กับนักเรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการคัดแยกขยะ รู้ว่าขยะประเภทใดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ประเภทใด สามารถนำไปแปรรูป ประเภทใดที่นำมาคัดแยกประเภทแล้วเกิดมูลค่าเพิ่มทั้งนี้เพื่อเป้าหมายการลดปริมาณ ขยะในโรงเรียน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครูและนักเรียนเป็นหลักและในการเริ่มต้นของโครงการ จากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และ การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ระดับครัวเรือนเป็นอุตสาหกรรมขนาด อาทิ โรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ โซล่าเซลล์ ทำให้มีปริมาณขยะ มูลฝอยที่เกิดขึ้น แต่ละวันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จากที่เคยกำจัดเองได้ ก็ไม่สามารถ กำจัดเองได้ทั้งหมด เนื่องจากความแออัดของชุมชนและโรงเรียน ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นปัญหาที่ ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน
จากปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงมีแนวคิดในการพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนขึ้น เพื่อลดปัญหา ปริมาณขยะ และส่งเสริมความรู้ให้แก่เยาวชนในเรื่องการคัดแยกขยะ และมีประสิทธิภาพในการใช้งานต่อไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
เพื่อประเมินคุณภาพระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ที่พัฒนาขึ้น
เพื่อหาความพึงพอใจการพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ที่พัฒนาขึ้น
ขอบเขตการการศึกษา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร นักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ จำนวน 73 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
ภาคเรียนที่ 1 – 2 ปีการศึกษา 2561
ด้านระบบงาน
3.1 ระบบสมัครสมาชิก
3.2 ระบบ login/logout
3.3 ระบบจัดการข้อมูลขยะ
3.4 ระบบจัดการข้อมูลผู้ใช้
3.5 ระบบฝาก-ถอน
3.6 ระบบขายต่อ
3.7 ระบบรายงานข้อมูลผู้ใช้
3.8 ระบบรายงานข้อมูลการฝากขยะ
3.9 ระบบรายงานข้อมูลการฝาก-ถอน
3.10 ระบบรายงาน
ผู้ใช้แอพพลิเคชั่น(สมาชิก)
4.1 สามารถสมัครสมาชิกได้
4.2 สามารถ Login / Logout
4.3 สามารถตรวจสอบข้อมูลตัวเองได้
4.4 สามารถตรวจสอบข้อมูลการฝาก-ถอนได้
4.5 สามารถตรวจสอบยอดเงินได้
ผู้ใช้ระบบ(เจ้าหน้าที่)
5.1 สามารถ Login / Logout ได้
5.2 สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลสมาชิกได้
5.3 สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลขยะได้
5.4 สามารถขายต่อสินค้าได้
5.5 สามารถตรวจสอบข้อมูลสมาชิกได้
5.6 สามารถตรวจสอบยอดการฝากถอนได้
ด้านฮาร์ดแวร์
7.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ Leptop
7.1.1 RAM 4 GB ขึ้นไป
7.1.2 HARDDISK 500 GB ขึ้นไป
7.1.3 CPU core i3 ขึ้นไป
7.2 สมาร์ทโฟน Android
7.2.1 ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชัน 4.0.0 ขึ้นไป
7.2.2 RAM 1 GB ขึ้นไป
ด้านซอฟต์แวร์
8.1 Netbeans IDE 8.2 คือ Tools ในการพัฒนาระบบ
8.2 ภาษา JAVA คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนระบบ และ แอปพลิเคชัน
8.3 SQL Server 2016 คือ โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล
8.4 โปรแกรม Adobe Photoshop CS6 คือ เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟฟิก
8.5 โปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 คือ เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ เว็บเพจและเว็บ
8.6 ระบบปฏิบัติการ คือ Windows 10
นิยามศัพท์เฉพาะ
การพัฒนาระบบ หมายถึง เป็นกระบวนการที่ใช้เทคนิคการศึกษา วิเคราะห์ และการออกแบบการพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
ขยะรีไซเคิล คือ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยนําไปผ่านกระบวนการแปรรูปใน ระบบอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ปะปนกับขยะมูลฝอยที่เราสร้างขึ้น สามารถแบ่งประเภทได้เป็น กระดาษ แก้ว พลาสติก โลหะ และอโลหะ ซึ่งเราสามารถคัดแยกและนํากลับมาใช้ได้อีกครั้ง หนึ่งโดยขยะแต่ละประเภทสามารถแยกย่อยได้มากมาย
ธนาคารขยะรีไซเคิล คือ รูปแบบหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อ ส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยโดยเริ่มต้นที่เยาวชนและชุมชนเป็นหลัก และใช้โรงเรียนเป็นสถานที่ดําเนินการ เพื่อให้ เยาวชนและชุมชน เกิดความเข้าใจในการคัดแยกขยะมูลฝอย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้ระบบธนาคารขยะที่มีประสิทธิภาพและนำไปใช้งานได้จริง
ผู้ใช้สามารถนำผลพลอยได้จากการตั้งธนาคารขยะ มาตั้งกองทุนสนับสนุนการศึกษาของนักเรียน
ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามีอยู่ 3 ชนิดดังนี้
ระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
แบบประเมินคุณภาพการพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
แบบสอบถามความพึงพอใจการพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ผู้ศึกษาได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือต่าง ๆ ตลอดจนนำไปทดลองใช้เพื่อหาคุณภาพของ เครื่องมือดังนี้ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนตามขั้นตอน วงจรการพัฒนาระบบ System Development Life Cycle : SDLC 5 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 : การวางแผนโครงการ (Project Planning Phase)
ระยะที่ 2 : การวิเคราะห์ (Analysis Phase)
ระยะที่ 3 : การออกแบบ (Design Phase)
ระยะที่ 4 : การนำไปใช้ (Implementation Phase)
ระยะที่ 5 : การบำรุงรักษา (Maintenance Phase)
1.1 การวางแผนโครงการ (Project Planning Phase)
เนื่องจากเมื่อก่อนการเก็บข้อมูลของโรงเรียนเป็นแบบจดบันทึกเวลามีนักเรียนนำขยะมาฝากต้องไปค้นหาเอกสารจากชั้นเก็บเอกสารซึ่งเอกสารจะเก็บรวมๆกัน ทำให้เกิดการล้าช้าในการค้นหาเอกสารข้อมูล ทำให้เสียเวลาและไม่สะดวกในการค้นหาข้อมูล ในเวลาที่นักเรียนนำขยะมาฝากหรือมาขาย
จากปัญหาดังกล่าว ทางผู้ศึกษาจึงมีความประสงค์ที่จะพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ขึ้นมา เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลในโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ ไว้ในระบบธนาคารขยะ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้มาจากการลงทะเบียนของนักเรียนที่นำขยะมาฝากที่มาลงทะเบียนผ่านทางระบบ โดยนำข้อมูลที่ได้มาช่วยเป็นฐานข้อมูลช่วยในการเก็บข้อมูล ได้ผ่านฐานเก็บข้อมูล โดยจะพัฒนาเป็นระบบธนาคารขยะในโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ การพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนจะมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกหรือฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ช่วยในการเก็บข้อมูลและค้นหาข้อมูล นอกจากนี้ ยังแสดงข้อมูลผ่านระบบ และค้นหาข้อมูลผ่านระบบได้ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการค้นหา ได้แม่นยำยิ่งมากขึ้น
1.2 การวิเคราะห์ (Analysis Phase)
1.2.1 รวบรวมข้อมูลและความต้องการ
ในการรวบรวมข้อมูลและความต้องการผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ความต้องการและรายละเอียดของผู้ใช้งานของระบบใช้งานใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสอบถามถึงความต้องการของผู้ใช้งานของระบบธนาคารขยะโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นทั้งในส่วนของโรงเรียนและส่วนของผู้ใช้งาน การวิเคราะห์จะเกี่ยวข้องกับการออกแบบโครงสร้างรายละเอียดต่าง ๆ ของการดำเนินงานและสร้างผังงานทำงานต่าง ๆ ในระบบเพื่อให้สอดคล้องกับระบบปฏิบัติการจริง และลักษณะของการทำงานของระบบธนาคารขยะโรงเรียน ควรจะมีเพิ่มเข้าไปทำให้การออกแบบสามารถทำได้แม่นยำและตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด
1.2.2 วิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่
ระบบงานใหม่สามารถที่จะประมวลผลรายงานใช้เวลาน้อยลงกว่าเดิมจากการศึกษาความเป็นไปได้แล้วนั้น จึงได้ทำการออกแบบระบบโดยอาศัยหลักการทฤษฎี UML (Unified Modeling Language) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานใหม่เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพของระบบงานใหม่ เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพของระบบงานใหม่
1.3 การออกแบบ (Design Phase)
ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการออกแบบระบบโดยอาศัยหลักการทฤษฎี UML (Unified Modeling Language) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบงาน โดยการวิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น 5 UML คือ Use case Diagram, Use Case Scenario ,Sequence Diagram, Activity Diagram , Class Diagram ในส่วนของการออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูล Data Dictionary และการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ User Interface สามารถอธิบายได้
1.4 พัฒนาระบบ
ในขั้นตอนการพัฒนาผู้ศึกษาได้นำข้อมูลที่ได้จาก ข้อ 1.2 มาทำการสร้างฐานข้อมูลและตามราง ด้วยโปรแกรม MySQL และมีขั้นตอนการพัฒนา ดังนี้
1.4.1 ศึกษาโปรแกรมในการพัฒนา
1.4.2 สร้างฐานข้อมูล
1.4.3 สร้างระบบงานเพื่อติดต่อกับผู้ใช้งาน
1.4.4 ทำการตรวจสอบระบบงานที่เสร็จแล้ว และทำการแก้ไขให้ถูกต้อง
1.4.5 นำไปเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำ ความสมบูรณ์ของระบบงานที่พัฒนาขึ้น
1.4.6 ทำการปรับปรุงตามที่ครูที่ปรึกษาเสนอแนะ
1.4.7 ทำการปรับปรุงระบบตาม ครูที่ปรึกษา และจัดทำคู่มือประกอบการใช้ระบบงาน เพื่อนำไปทดลองต่อไป
1.5 ขั้นตอนการติดตั้งและดำเนินการใช้ระบบ (Systems Implementation & Operation)
ในขั้นที่นำระบบที่มีองค์ประกอบครบสมบูรณ์ทดลองใช้หาข้อบกพร่องแล้วทำการปรับปรุง
มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
เตรียมความพร้อมในการจัดเตรียมสถานที่ และโปรแกรม
ผู้ศึกษาได้นำการพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ กรณีศึกษาโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร ที่พัฒนาขึ้นหลังจากนั้นจึงให้ทำแบบประเมินประคุณภาพด้วยวิธี Blackbox เพื่อประเมินประคุณภาพของระบบ
ผู้ศึกษาได้นำระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ กรณีศึกษาโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร ที่พัฒนาขึ้นให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทดลองใช้ระบบ ได้แก่ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ จำนวน 30 คน โดยใช้แบบประเมินคุณภาพ เพื่อประเมินคุณภาพของระบบ ธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ กรณีศึกษาโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร
จัดทำคู่มือ การใช้ระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ กรณีศึกษาโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร ที่พัฒนาขึ้น จากนั้นผู้ศึกษา ได้ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ กรณีศึกษาโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนครที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้ระบบที่พัฒนาขึ้น สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และสมบูรณ์พร้อมนำระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ กรณีศึกษาโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร ไปใช้งานจริง
แบบประเมินคุณภาพ
การหาคุณภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับที่พัฒนาขึ้น ผู้ศึกษาได้เลือกวิธีการหาคุณภาพตามแนวทางการวิจัยระบบสารสนเทศ โดยใช้วิธีการทดสอบ แบลคบล็อค (Black Box Testing) ซึ่งเป็นการทดสอบโดยเน้นความถูกต้องของข้อมูลนำเข้า (Input) และผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ (Output) เป็นหลักโดยประเมินผลจากผู้บริหารสถานศึกษา 3 คน เครื่องมือที่นำมาใช้ในการประเมินคุณภาพของระบบในโครงงานนี้ คือ แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น แบ่งเป็น 2 หัวข้อดังต่อไปนี้ (นายสุธกิจ อุดมทรัพย์ :53-55)
5.1 วิธีการและขั้นตอนการสร้างแบบประเมิน
5.1.1 วิเคราะห์ ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1.2 ออกแบบข้อคำถามให้ครอบคลุม
5.1.3 จัดทำแบบสอบถามให้สมบูรณ์
5.1.4 เสนอครูที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
5.1.5 ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
5.1.6 จัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์
5.2 เกณฑ์หรือมาตรฐานในการประเมิน
แบบประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมได้กำหนดเกณฑ์โดยประกอบด้วยมาตราอันดับ (Rating Scale) เชิงคุณภาพ 5 ระดับ และมาตรอันดับเชิงปริมาณ 5 ระดับ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลของการพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
การสร้างระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
การทดลองใช้ระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ พร้อมทั้งประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ วิธีรวบรวมข้อมูลดังนี้
2.1 ผู้ศึกษานัดนักเรียนกลุ่มทดลอง เพื่อทำการศึกษาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
2.2 ผู้ศึกษาอธิบายวิธีการใช้ระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
ให้นักเรียนทราบและให้นักเรียนทดลองใช้ระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
2.3 เมื่อนักศึกษาทำการศึกษาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ ให้นักเรียนกรอกแบบสอบถามความพึงพอใจหลังการศึกษาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
รวบรวมแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผล
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินคุณภาพระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean : ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.
การวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาระบบธนาคารขยะโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean : ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการวัดค่ากลางของข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) หรือค่าเฉลี่ย (Mean : ) เพื่อแปลความหมายของการทดสอบระบบ และวัดการกระจายของข้อมูลโดยใช้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation : S.D.) เพื่อใช้แปลความหมายของข้อมูลตามสมการ