หมึกปากกาไวท์บอร์ดจากคาร์บอน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กานต์พิชชา เงินแจ้ง, ศศิประภา เนตรจินดา, แพรวา ห้องมา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วณิชชา หมั่นเรียน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากปัจจุบันปากกาไวท์บอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในโรงเรียน สถาบันสอนพิเศษ ฯลฯ เมื่อไม่นานมานี้ นายกำจัด รามกุล ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลว่าการใช้ปากกาไวท์บอร์ดในห้องเรียนที่มีระบบระบายอากาศไม่ดีก็ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เนื่องจากในปากกาไวท์บอร์ดมีสารเคมีไตรคลอโรเอธิลีน (trichloroethylene) อยู่ด้วย สารนี้ระเหยได้ง่ายและมีกลิ่นฉุน หากสูดดมเป็นเวลานานจะมีผลทำให้เกิดภาวะการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือด ขาวลดลง จึงป่วยเป็นโรคโลหิตจาง นอกจากนี้ยังให้ไขกระดูกทำงานผิดปกติจนอาจเกิดเป็นมะเร็งขึ้นมาเรียกว่า มะเร็งไขกระดูก ซึ่งในปัจจุบันเด็กไทยในสายสามัญใช้เวลาอยู่ในห้องเรียนไม่ต่ำกว่า 7 คาบหรือ 7ชั่วโมงยังไม่รวมเรียนพิเศษ ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เราจึงคิดค้นหมึกปากกาจากคาร์บอน โดยจะนำเอทิลแอลกอฮอล์มาใช้เป็นตัวทำละลายแทนสารเคมีอันตราย และเปลี่ยนสารให้สีน้ำหมึกจากสารเคมีเป็นคาร์บอน ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงงานsum waste ที่นำกากตะกอนน้ำเสียมาเผาจนได้คาร์บอนมาทำน้ำหมึกปากกาลูกลื่น แต่เนื่องจากวิธีดำเนินการใช้เวลานาน ค่าใช้จ่ายจำนวนมากและเสี่ยงการติดเชื้อของสิ่งปฏิกูลในกากตะกอน เราจึงลดขั้นตอน โดยข้ามขั้นตอนมาใช้คาร์บอนจากถ่านกัมมันต์