การศึกษาสารสกัดมะม่วงหาว มะนาวโห่ในการย้อมสีเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อนำมาใช้ทำปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สถาพร อ่องสกุล, สรวิศ เพชรพิบูลย์ไทย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยะมาศ เจริญชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สาขาที่เกี่ยวกับชีวะวิทยา ในสถานศึกษาหรือในโรงเรียนหลายๆที่ มีการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์สิ่งมีชีวิตด้วยการย้อมสีเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เช่น การศึกษาโครงสร้างของเซลล์พืช การศึกษาเซลล์ที่กระพุ้งแก้มของมนุษย์ การศึกษาลักษณะของแบคทีเรีย เป็นต้น ซึ่งในการศึกษาดังกล่าวล้วนต้องมีการใช้สีสังเคราะห์ในการย้อมสีเซลล์สิ่งมีชีวิตที่เราต้องการศึกษาเพราะสีสังเคราะห์สามารถย้อมสีเซลล์ที่ต้องการศึกษาได้อย่างชัดเจน แต่สีสังเคราะห์นั้นมีข้อเสีย คือ ทำให้เกิดมลพิษสูงในกระบวนการผลิต น้ำทิ้งที่เกิดจากการย้อมสีเคมีทำให้ดินและน้ำเสีย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สีเคมีหลายชนิดเมื่อสลายตัวจะมีพิษต่อผิวหนังหรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อได้รับสารเคมีแบบฉับพลัน เช่น เมื่อร่างกายได้รับ Toluidine blue O ทำให้ เกิดภาวะเมทฮีโมโกลบิน ปวดศีรษะ ชีพจรเต้นไม่ เป็นจังหวะ ความดันเลือดลดลง หายใจลำบาก ชัก(Merck,2561) และนอกสีเคมีส่วนใหญ่เป็นสีที่ต้องซื้อและมีราคาที่มากในระดับหนึ่ง
สารสกัดจากพืชสมุนไพรที่ใช้ในการย้อมสีเซลล์มีอยู่หลายชนิด โดยที่แต่ละชนิดจะมีกลุ่มของสารสีในพืชที่แตกต่างกันประกอบไปด้วย ฟลาโวนอยด์ คาโรตินอยด์ อัลคาลอยด์ แทนนิน แอนทราควิโนนและแนพทราควิโนน(วิลาส รัตนานุกูล,2555) ซึ่งสารแอนโทไซยานินเป็นสารที่ให้สีเข้มกับเซลล์ ดังนั้นจึงควรนำไปทำสารย้อมสีเซลล์สิ่งมีชีวิต เพราะสารชนิดนี้มีสีม่วง ฟ้า ชมพู ทำให้สามารถที่จะสังเกตและมองเห็นเซลล์ที่ย้อมสีได้โดยง่าย โดยสารจำพวกแอนโทไซยานินสามารถพบได้ในพืชได้หลายชนิด เช่น อัญชัน มะม่วงหาวมะนาวโห่ มัลเบอรี่ กะหล่ำมีสีม่วง องุ่น เป็นต้น ซึ่งพืชแต่ละชนิดล้วนมีปริมาณความเข้มข้นของสารแอนโทไซยานินที่ต่างกัน ในการสร้างสารสกัดสีจึงควรใช้พืชที่ให้ปริมาณแอนโทไซยานินที่สูง นั่นคือเปลือกมะม่วงหาวมะนาวโห่ โดยในมะม่วงหาว มะนาวโห่มีปริมาณสารประกอบแอนโทไซยานินชนิด ไซยานิดิน 181.66 มิลลิกรัมต่อ 50 กรัม และเพลาโกร์นิดิน 157.13 มิลลิกรัมต่อ 50 กรัม (สุภาพร ฟักเงิน และศิรประภา มีรอด , 2560)
ดังนั้นกลุ่มของพวกเราจึงเกิดแนวคิดที่จะศึกษาความสามารถในการย้อมสีเซลล์ของสารสกัดจากมะม่วงหาว มะนาวโห่ โดยทำการศึกษาชนิดตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดสารสี ปัจจัยที่เกี่ยวกับการย้อมสีเซลล์และประสิทธิภาพสารสกัดจากเปลือกมังคุดในการย้อมสีเซลล์สิ่งมีชีวิต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาสารสกัดจากเปลือกมังคุดในการย้อมสีเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อนำมาใช้ทำปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน และเป็นการนำส่วนของพืชที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่เป็นขยะทางการเกษตรมาพัฒนาให้ได้เป็นสิ่งของที่มีมูลค่า นำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้