สเปกตรัมของแสงจากหลอดไฟ LED ที่มีผลต่อการเสื่อมสลายของยา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จิดาภา ไทยยานันท์, พลัฏฐ์พล ธรรมนรภัทร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

มณิวรา กฤดากร ณ อยุธยา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันมีประเภทยาที่หลากหลายเช่น ยาน้ำรับประทาน ยาฉีด ยาน้ำแขวนตะกอน ยาขี้ผึ้ง ยาเหน็บ ยาแคปซูล และยาเม็ดเป็นต้น แต่ละชนิดมีวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน ยาเม็ดเป็นยาชนิดหนึ่งที่มีทั่วไป สามารถหาซื้อและรับประทานได้ง่าย การคงสภาพของยาเม็ดมีปัจจัยต่างๆที่สำคัญคือปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ความชื่น และ แสง หากผู้ป่วยนำยาบางชนิดที่เป็นชนิดห้ามโดนแสงเช่นยา Nifedipine (ไนเฟดิปีน)ที่เป็นยาคลายกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด, Sodiumnitroprusside;SNP (โซเดียมไนโตรพลัสไซด์) เป็นยาลดความดันโลหิตสูง, Riboflavin (ไรโบฟลาวิน) เป็นยาวิตามินบี2 ช่วยทำหน้าที่เป็นอาหารเสริม และ Phenothiazines (ฟีโนไทอาซีน)ซึ่งเป็นยาที่ช่วยรักษาเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพจิต เมื่อนำไปโดนแสงแดด อาจจะส่งผลกระทบให้ยาของผู้ป่วยเสื่อมสภาพและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และผู้ป่วยอาจจะไม่หายจากอาการของโรคต่างๆหลังรับประทานยาตัวนั้น ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดที่จะศึกษาการเสื่อมสภาพของยากับสเปกตรัมของหลอดไฟ LED โดยจะใช้เป็นแสง visible light (แสงสีม่วง สีน้ำเงิน และแสงสีแดง) เพื่อทดลองว่าคลื่นแสงในช่วงไหนสามารถทำลายประสิทธิภาพหรือมีผลต่อการเสื่อสภาพของยามากที่สุด ยาจะมีปฏิกิริยาและเกิดการเปลี่ยนแปลงมากกับคลื่นแสงที่มีพลังงานมากนั่นคือแสงสีม่วง และจะเกิดปฏิกิริยาและมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยกับคลื่นแสงที่มีพลังงานต่ำนั่นคือสีแดง