เครื่องวัดความสดของปลาแซลมอน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พร้อมพสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, สุรศักดิ์ จุลละนันทน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนิต กาญจนโกมล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยนำเข้าสินค้าประเภทอาหารทะเล หรือ ซีฟู้ดจากต่างประเทศ รวมถึง 26,000 ตัน โดยอาหารทะเลที่ไทยนำเข้ามากที่สุดในปี 2560 คือปลาแซลมอน (John Eric, 2560) ซึ่งเป็นปลาที่ผู้คนส่วนมากในประเทศนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย และมักจะบริโภคเนื้อปลาดิบตามแบบอาหารญี่ปุ่น ปลาที่ไม่สดจะผลิตสารอิสตามีนซึ่งสารนี้ที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ (Janeway,1999) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการซึมผ่านของร่างกายเสียสภาพเกิดการหดตัวและรัดตัวของกล้ามเนื้อเรียบไม่เป็นปกติ ดังนั้นความสดของปลาจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกเนื้อปลาชนิดนี้มาบริโภค Takashi Kimiya (2013) ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องความสดของเนื้อปลาแซลมอนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาระยะเวลาบ่งชี้ความสดของเนื้อปลาแซลมอน และได้ผลสรุปว่าเนื้อปลาแซลมอนจะถือว่าไม่สดหลังจากผ่านไป 2.4 วัน ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมีข้อจำกัดหลายประการที่ไม่สอดคล้องกับบริบทการใช้งานของผู้บริโภค คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบความสดของปลานั้นมีราคาสูง ขั้นตอนการตรวจสอบจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ ไม่เหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามการศึกษาของ Raudienė E (2018) ได้มีการสร้างเครื่องมือตรวจสอบระดับความสดของเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ในรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่ง Raudienė E ได้สร้างเครื่องมือจากการนำเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณแอมโมเนียและสารชนิดอื่นที่แพร่อยู่รอบเนื้อไก่ในระยะไม่เกินขอบเขตุการใช้งานของเซ็นเซอ ผู้พัฒนาจึงได้มีแนวคิดในการสร้างเครื่องวัดระดับความสดของเนื้อปลาแซลมอนที่จะสามารถบอกความสดของเนื้อปลาและสะดวกต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค โดยสร้างเครื่องวัดระดับความสดของปลาแซลมอนจากการนำเซ็นเซอร์วัดปริมาณสารแอมโมเนียที่หลั่งออกมาจากเนื้อปลาในกระบวนการทางสรีระวิทยา จากนั้นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับเวลาตายของปลาแซลมอนโดยใช้สมการถดถอย (Regression Equation) เพื่อพยากรณ์ปริมาณสารแอมโมเนียที่มีอยู่จริง ณ ขณะนั้น จากนั้นเขียนโปรแกรมเพื่อคำนวนค่าปริมาณแอมโมเนียรวมจากสมการ Tan = 0.036 +0.26(N) โดย Nmin =ปริมาโปรตีนในแซลมอน 1 kg x 32/100 และ Nmax =ปริมาโปรตีนในแซลมอน 1 kg x 38/100 นอกจากนี้ผู้วิจัยจะรายงานค่าความหน้าเชื่อถือของสมการด้วยค่าระดับความเชื่อมั่น (Reliability) ที่ r2 > .80