นวัตกรรมแผ่นห้ามเลือดและเจลห้ามเลือด จากสมุนไพรใบสาบเสือ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อัสกร มดแสง, นิชานันท์ เจริญเวโรจน์กุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปวีณา สีแดง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในร่างกายมนุษย์จะมีกลไกการห้ามเลือดเพื่อไม่ให้ร่างการสูญเสียเลือด นอกจากนี้การปฐมพยาบาลเพื่อห้ามเลือดยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อที่จะไม่ทำให้ร่างกายสูญเสียเลือด วิธีห้ามเลือด ซึ่งในการห้ามเลือดมักจะใช้วิธีการกดบริเวณเส้นเลือดเหนือบาดแผล หรือกดบริเวณบาดแผล(มูลนิธิหมอชาวบ้าน,2560)โดย กลไกการแข็งตัวของเลือดจะเริ่มต้นขึ้นทันทีที่เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด เกิดการเว้าแหว่งของผนังหลอดเลือด เมื่อเลือดได้สัมผัสกับโปรตีนที่อยู่นอกหลอดเลือด เช่น tissue factor ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและไฟบริโนเจนซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว เกล็ดเลือดจะมารวมตัวที่จุดบาดเจ็บทันที เป็นกระบวนการห้ามเลือดขั้นปฐมภูมิ จากนั้นกระบวนการห้ามเลือดขั้นทุติยภูมิก็จะเริ่มขึ้นพร้อมๆ กัน โปรตีนต่างๆ ในเลือดที่รวมเรียกว่าปัจจัยการแข็งตัวของเลือดจะมีการกระตุ้นปฏิกิริยาอย่างเป็นลำดับและซับซ้อน จนสุดท้ายแล้วทำให้เกิดเส้นใยไฟบรินขึ้น ซึ่งจะเสริมความแข็งแรงของก้อนเกล็ดเลือดที่จับกันอยู่
นอกจากวิธีทั่วไปเหล่านี้วงการแพทย์ได้พัฒนาแผ่นปิดแผลห้ามเลือดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน วัสดุห้ามเลือดเริ่มมีการวิจัยตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1909 โดยนายเบอร์เจล (Bergel) ได้ทําการทดลอง และรายงาน ว่า ผงไฟบริน มีสมบัติช่วยห้ามเลือดได้ต่อมาในปี ค.ศ.1938 นักวิทยาศาสตร์สามารถสกัดสารทรอมบินให้บริสุทธิ์ได้ จึง นำไปผสมกับไฟบรินทำแผ่นปิดแผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดผิวหนัง ใช้แผ่นปิดแผลที่ปลูกถ่ายให้ ทหารที่โดนไฟลวก
แผ่นปิดแผลห้ามเลือดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาที่สูง และประเทศไทยยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทําให้ผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างเสมอภาค ในปัจจุบันการรักษาบาดแผลที่ไม่ลึกมาก เช่น แผลถลอกจากอุบัติเหตุหรือแม้แต่ไฟไหม้ น้ำร้อน ลวกที่พบได้ค่อนข้างบ่อยที่มาพบแพทย์ ซึ่งแพทย์มักจะนัดผู้ป่วยมาล้างแผลอย่างต่อเนื่องทุกวัน และต้อง เปลี่ยนวัสดุปิดแผลทุกวันจนกว่าแผลนั้นจะหายสนิท ข้อเสียของวิธีนี้ คือ ผู้ป่วยอาจต้องลางาน ขาดงานมา ทําแผลทุกวัน สิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้าแผลไม่ลึกมากการเปลี่ยนวัสดุปิดแผลบ่อยๆ อาจทําให้เลือดออกมากขึ้นและแผลหายได้ช้า
ต้นสาบเสือได้แพร่เข้ามาสู่ภาคใต้ของประเทศไทยประมาณปี พ.ศ. 2483 ก็ได้มีการใช้สมุนไพรใบสาบเสือ ในการรักษาบาดแผล โดยต้นสาบเสือจัดได้ว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง ที่มีการกระจายพันธุ์ได้ดี และจะออกดอกเมื่อมีอากาศที่แห้งแล้ง ซึ่งรายงานวิจัยของภูษิต วิระวานิตร์ และคณะในปีพ.ศ. 2540 ได้บอกว่า สาบเสือ นั้นสามารถห้ามเลือดได้ โดยสารสำคัญที่ช่วยในการห้ามเลือดคือ แคลเซียม และสารตระกูลฟาวโวนอยหลายชนิด (ยุวดี วงษ์กระจ่าง และคณะ ปีพ.ศ. 2537)และเมื่อทดลองการรักษาแผลในสุกร พบว่าสามารถใช้รักษาแผลได้ผลที่ดีกว่าทิงเจอร์ไอโอดีน( จรูญ สินทรีวรกลุ และคณะ ปีพ.ศ.2541)สารสกัดที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายพบว่าสามารถห้ามเลือด
ด้วยเหตุนี้ผู้จัดทำจึงมีความสนใจและทำการวิจัยเกียวกับการนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการห้ามเลือด มาอยู่ในรูปแบบเจลและแผ่นปิดแผลเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรักษาบาดแผลลง ผู้จัดทำ โครงงานนี้หวังว่าโครงงานนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ