การเร่งปฏิกิริยาการกำจัดฟีนอลโดยเอ็นไซม์เปอร์ออกซิเดสจากผักตบชวา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วัชรพงษ์ วงษ์แก้ว, ปิยมน ทรงพานิช, ปริยากร กาญจนวัฒน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณุจุฑา ธรรมสุเมธ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันแหล่งน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทย มักพบสารมลพิษสำคัญ คือ ฟีนอล (Phenol) ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ประเภทอะโรมาติค ที่มีสูตรโครงสร้างคือ C6H5OH มีกลิ่นที่เป็นลักษณะเฉพาะคล้ายกลิ่นกรด สารละลายของฟีนอลในน้ำ มีค่า pH อยู่ที่ประมาณ 5-6 โดย Environmental Protection Agency (EPA) ได้รวมฟีนอลเป็นหนึ่งในสารมลพิษหลักที่ต้องมีการควบคุมเฉพาะ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์เนื่องจากฟีนอลเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง ซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อ มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง มีผลเสียต่อหัวใจ ปอด ไต ตับและอาจส่งผลถึงแก่ชีวิต และจากการศึกษางานวิจัยก่อนหน้าพบว่าเอนไซม์ Peroxidase ซึ่งพบในทุกเซลล์สิ่งมีชีวิต สามารถกำจัดฟีนอลในน้ำเสียได้ ดังนั้น ผู้ทำโครงงานจึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาการกำจัดฟีนอลในน้ำเสียโดยเอนไซม์ Peroxidase จากผักตบชวา ที่เป็นอีกหนึ่งมลพิษทางน้ำเช่นกัน โดยการนำผักตบชวามาสกัดหยาบ เพื่อลดต้นทุนในการนำมาใช้งานจริงและศึกษาปริมาณเอนไซม์จากแต่ละส่วนของผักตบชวาที่แตกต่างกัน ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ และทุกส่วน จากนั้นจะตรวจสอบปริมาณฟีนอลและประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ด้วยสารละลาย 4-AAP เพื่อหา Maximum activity และนำไปทดสอบจริงกับฟีนอลในน้ำเสีย