การศึกษาวัสดุเปลี่ยนเฟสสำหรับการรักษาความร้อนในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วรัญชณา สวยงาม, กนกพร ชุมนวล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กุลธิดา สุวัชระกุลธร, สราวุธ แท่นจินดารัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เครื่องอบพลังงานแสงอาทิตย์ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออบแห้งผลิตภัณฑ์สำหรับการถนอมอาหาร โดยใช้หลักการเรือนกระจกเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานความร้อนเพื่อไล่ความชี้นออกจากผลิตภัณฑ์ ข้อดีของการใช้ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์คือ แสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ได้มาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์มีข้อจำกัดที่สำคัญคือ ใช้งานได้เมื่อมีแสงอาทิตย์เท่านั้น อุณหภูมิภายในตู้อบไม่ต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน จากปัญหาดังกล่าว จึงมีการนำวัสดุเปลี่ยนเฟสมาใช้ในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อช่วยในการกักเก็บความร้อนที่มีปริมาณไม่คงที่ และรักษาอุณหภูมิภายในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ให้สม่ำเสมอ ดังนั้นโครงงานการศึกษาวัสดุเปลี่ยนเฟสสำหรับการรักษาความร้อนในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของวัสดุเปลี่ยนเฟส ได้แก่ จุดหลอมเหลว ความร้อนแฝง เวลาที่ใช้ในการคายความร้อน และความสามารถในการหลอมเหลวของวัสดุเปลี่ยนเฟส เพื่อศึกษาอัตราส่วนของวัสดุเปลี่ยนเฟส และปริมาตรของวัสดุเปลี่ยนเฟสที่เหมาะสมสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ และศึกษาประสิทธิภาพของวัสดุเปลี่ยนเฟสสำหรับการรักษาความร้อนในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ โดยทำการศึกษาอัตราส่วนของวัสดุเปลี่ยนเฟส ปริมาตรของวัสดุเปลี่ยนเฟสที่เหมาะสมกับการนำไปใช้ในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้สามารถออกแบบในการปรับใช้งานตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิในแต่ละฤดูกาล