การพัฒนาฟาร์มเลี้ยงไข่นํ้าอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง(IoT) เพื่อสร้างแหล่งโปรตีนทางเลือกจากพืช
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธาราทิพย์ นาคปานเสือ, ภิญญาพัชญ์ หันธนู
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐภัสสร เหล่าเนตร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากในปัจจุบันกระแสการบริโภคอาหารจากวัตถุดิบหลักที่เป็นพืชเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีน ดังนั้นโครงการนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อ ออกแบบระบบเลี้ยงไข่น้ำและศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเลี้ยงผำและวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของไข่น้ำที่ผ่านการเลี้ยงด้วยระบบฟาร์มเลี้ยงไข่น้ำอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้น พบว่า ระบบอัจฉริยะมีระบบการควบคุมค่าความเข้มข้นของปุ๋ยสูตร 16-16-16, ค่าความเข้มแสง และอุณหภูมิ โดยรับค่าจากเซนเซอร์จากนั้นสั่งการให้มอเตอร์ทำงานในการเติมสารให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม โดยที่ไข่น้ำมีสภาวะที่เหมาะสมอยู่ที่ ค่าความเป็นกรด-เบสอยู่ระหว่าง 5-6, ค่าความเข้มข้นของปุ๋ยสูตร 16-16-16 อยู่ระหว่าง 80-120 มิลลิกรัมต่อลิตร, อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 10-35°C, ค่าความเข้มแสงอยู่ระหว่าง 3,000-5,000 Lux และจากการตรวจวัดปริมาณโปรตีนด้วยเทคนิคการทำ spectrophotometric biuret method พบว่าในแต่ละวันปริมาณโปรตีนที่ได้จะเพิ่มขึ้นโดยไข่น้ำที่เลี้ยงด้วยระบบอัตโนมัติจะมีปริมาณโปรตีนมากกว่าไข่น้ำที่เลี้ยงด้วยระบบควบคุมเนื่องจากการควบคุมธาตุอาหาร ปริมาณแสง ค่า pH ในระบบการเลี้ยงทำให้ในวันที่ 7 ไข่น้ำเลี้ยงที่ด้วยระบบอัตโนมัติมีปริมาณโปรตีนร้อยละ 53.65±0.44 ซึ่งมากกว่าไข่น้ำที่เลี้ยงด้วยระบบควบคุมที่มีปริมาณโปรตีน 45.56±0.33