การประเมินความเป็นพิษระดับเซลล์และพันธุกรรมของน้้าทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดปัตตานี โดยวิธี Allium cepa test

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อัลยา หมันใจดี, ฮู​ดา ณรงค์​รักษา​เขต, ซิรอจญ์ หะยีอาหวัง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นิรานี​ บินนิมะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การประเมินความเป็นพิษระดับเซลล์และพันธุกรรมของน้ําทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมใน จังหวัดปัตตานี โดยวิธี Allium cepa test เริ่มด้วยการศึกษาความเป็นพิษของน้ําทิ้งจากโรงงาน อุตสาหกรรมในจังหวัดปัตตานี ทั้งหมด 3 โรงงาน จํากโรงงานที่ปล่อยน้ําทิ้งในจังหวัดปัตตานีทั้งหมด จํานวน 15 โรงงาน โดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ศึกษาค่าพารามิเตอร์น้ําที่ได้จํากน้ําทิ้งของโรงงาน ประกอบด้วย ค่า COD ค่า DO และค่า BOD ศึกษาผลกระทบและความเป็นพิษของน้ําทิ้งที่มีผลต่อ ความยาว จํานวน และอัตราการเจริญเติบโตของราก โดยการหาค่าเฉลี่ยจํานวนรากและความยาว ราก และศึกษาความผิดปกติที่เกิดขึ้นต่อโครโมโซมในระยะแบ่งตัวของเซลล์ปลายรากหอม โดยการหา ค่าดัชนีไมโทซิส หาค่าความผิดปกติทั้งหมด (Total Aberrations) และนําผลมา วิเคราะห์ข้อมูลด้วย วิธี Analysis of Variance (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยวิธี Duncan’s Multiple Range Test (DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p≤0.05)