การวิเคราะห์ระยะทางและเวลาการเดินเรียนโดยใช้ทฤษฎีกราฟเพื่อพัฒนาโปรแกรมการจัดตารางเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุพิชชา เชื้อชาติ, นายพนธกร ประดิษฐ์ศิริงาม, สุธิชา ตาลใช้
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศิตา ทวีกาญจน์, ศุภการย์ เกลี้ยงเกลา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การจัดตารางเรียนของสถานศึกษาต้องคำนึงถึงปัจจัยในหลายด้าน ทั้งอาจารย์ผู้สอน วิชาที่ศึกษา ห้องเรียน เพื่อให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์กับนักเรียนที่จะได้รับความรู้สูงสุด
โดยส่วนมากจะมีการจัดให้นักเรียนเดินเปลี่ยนห้องเรียนเมื่อมีคาบถัดไปเนื่องจากบางวิชาเรียนต้องเรียนที่ห้องปฏิบัติการหรือห้องที่มีอุปกรณ์เฉพาะวิชา
การจัดตารางเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในแต่ละห้องและแต่ละระดับชั้นมีความแตกต่างกัน ทำให้ระยะทางการเดินเปลี่ยนคาบของแต่ละห้องในระดับชั้นนั้นไม่เท่ากัน ในบางกรณีมีการเดินจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งตามตารางเรียน ซึ่งมีระยะทางที่อยู่ห่างกันมาก ต้องใช้เวลาในการเดินเรียนมากเช่นกัน ส่งผลให้เวลาในการเรียนแต่ละคาบลดลง
ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้ศึกษาการนำทฤษฎีกราฟมาใช้ในการวิเคราะห์ระยะทางและเวลาการเดินเรียน โดยกำหนดจุดยอด(vertex) แทนเป็นอาคารต่างๆ ได้แก่ อาคารราชกุมารี อาคารศรีวลัยลักษณ์ หอสมุดและแหล่งการเรียนรู้ ศูนย์กีฬา เป็นต้น และให้เส้นเชื่อม (edge)แทนเป็นเส้นทางในการเดินเรียนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ใช้โปรแกรมในการคำนวณหาระยะทางและเวลา จากนั้นหาค่าเฉลี่ยของเวลาเพื่อใช้เป็นค่าถ่วงน้ำหนัก ซึ่งนำมาวิเคราะห์กับตารางเรียนเดิม โดยมีการคำนวณเวลาที่สูญเสียไปในคาบเรียนและพัฒนาโปรแกรมจัดตารางเรียนที่คำนึงถึงระยะทางและเวลา