การลดสารปนเปื้อนและสารSLSในน้ำ ด้วยท่อกรองธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อัจจิมา ปานสุวรรณ, ธัญญพร สำเนียงดี, กุลชาพร พุทธจักรศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มลฑิรา ศรีศักดา, อินทิรา เกตุอินทร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาตร์ เรื่อง การลดสารปนเปื้อนและสารSLS ในน้ำด้วยท่อกรองธรรมชาติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประดิษฐ์ท่อกรองที่มีชั้นกรองที่สามารถลดสารปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำที่ได้จากการล้างจานได้ โดยใช้พืช และวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น และออกแบบให้เล็ก กระทัดรัด ใช่งานง่าย คณะผู้จัดทำได้ทำ การทดลองที่ 1 ศึกษาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรูตะแกรงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการกรองเศษอาหาร พบว่าตะแกรงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร มีประสิทธิภาพการกรองที่ดีกว่า 3 มิลลิเมตร ด้วยปริมาณเศษอาหารที่เหลือจากการกรอง 5.06 กรัม ซึ่งมีมากกว่าตะแกรงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร และตะแกรงทั้ง 2 ขนาดใช้เวลาในการกรองใกล้เคียงกัน การทดลองที่ 2 ศึกษาชนิดของเส้นใยพืชที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการกรองน้ำมัน พบว่า เส้นใยผักตบชวา มีผลต่างของมวลของเส้นใยแห้ง 2.56 กรัม ซึ่งอาจอนุมานได้ว่ามวลที่เพิ่มมานี้เป็นมวลของน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมา และระยะเวลาการไหลของน้ำ 24.25 วินาที การทดลองที่ 3 ศึกษาปริมาณของเส้นใยพืชที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการกรองน้ำมัน พบว่า แผ่นกรองผักตบชวาปริมาณ 2 กรัม มีผลต่างของมวลของเส้นใยแห้ง 2.44 กรัมขึ้นมา และระยะเวลาการไหลของน้ำ 23.89 วินาที การทดลองที่ 4 ศึกษาชนิดแผ่นกรองสารปนเปื้อนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของแผ่นกรองและประสิทธิภาพของน้ำ พบว่า แผ่นกรองสารปนเปื้อนที่ทำมาจากถ่าน มีค่า pH จาก 5 เพิ่มขึ้นเป็น 7 ซึ่งเป็นกลาง มีแนวโน้มของค่าแรงตึงผิวเฉลี่ยลดลงจาก 78.09 x102, 77.79 x102, 77.57 x102, 76.98 x102 และ
6.69x102 นิวตัน และจำนวนครั้งในการกรองจนหมดสภาพการกรองมากกว่า 100 ครั้ง