พลังงานไฮโดรเจนจากเปลือกทุเรียนและมูลแกะ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อภิชญา ตั้งวงศ์กิจศิริ, ตะวัน แซ่วุ่น, เสกสรร ยอดสนิท
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุรนันท์ อนันตชัยศิลป์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากในปัจจุบันมีความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้น พลังงานสะอาดจากของเสียชีวภาพจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คณะผู้จัดทำได้ศึกษาและจัดทำโครงงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตพลังงานสะอาดจากแก๊สไฮโดรเจนจากเปลือกทุเรียนและมูลแกะ และหาอัตราส่วนของเปลือกทุเรียนและมูลแกะที่สามารถผลิตแก๊สไฮโดรเจนได้ปริมาณมากที่สุด โดยอาศัยกระบวนการหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจนหรือ anaerobic digestion ของ Anaerobic bacteria โดยเก็บตัวอย่างเปลือกทุเรียนและมูลแกะจากสวนละไม แล้วนำมาหมักด้วยอัตราส่วนที่แตกต่างกัน 6 ชุดการทดลอง โดยมีอัตราส่วนน้ำหนักของเปลือกทุเรียน (กรัม) ต่อน้ำหนักมูลแกะ (กรัม) ดังนี้ 24:3, 22:4, 20:5, 18:6, 16:7, 0:15 และชุดการทดลองที่ 7 เป็นน้ำกลั่น เก็บข้อมูลเป็นเวลา 20 วัน แล้วนำไปวัดผลกับเครื่อง Biogas 5000 Geotech จากผลการทดลองเบื้องต้นพบว่า ชุดการทดลองที่ 1-5 ให้แก๊สไฮโดรเจนในปริมาณสูง ส่วนชุดที่ 6 ให้แก๊สมีเทนเป็นหลัก ซึ่งสามารถอภิปรายได้ว่าในการหมักหากมีเปลือกทุเรียน จะมีการผลิตแก๊สไฮโดรเจน และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งมาจากความเป็นกรดของเปลือกทุเรียน ทำให้กระบวนการ anaerobic digestion หยุดอยู่ที่ hydrolysis และไม่เกิด methanogenesis จึงได้ผลิตภัณฑ์แก๊สไฮโดรเจนในปริมาณที่สูง ซึ่งระบบการผลิต จัดเก็บและแยกแก๊สที่ได้ให้บริสุทธิ์ จะถูกพัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป