เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการไล่มอดแป้ง Tribolium castaneum ด้วยน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด กระเทียม และโหระพา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วริทธิ์ พันธุ์กระวี, สุภกิจ บำเรอเสนาะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วไลภรณ์ อรรถศิริ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกศน.ตำบลบางตลาด

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ได้ผลผลิตข้าว 24 ล้านตัน มีฟางข้าวเฉลี่ยประมาณปีละ 25.45 ล้านตัน และมีปริมาณตอซังข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาข้าว 16.9 ล้านตันต่อปี ดังนั้นจึงนับได้ว่ามีปริมาณฟางข้าวและตอซังข้าวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตอซังพืชชนิดอื่น โดยมีปริมาณฟางข้าวและตอซังมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือจำนวน 13.7 และ 9.1 ล้านตันต่อปี รองลงมาคือภาคกลางและภาคตะวันออกมีจำนวนฟางข้าวและตอซัง 6.2 และ 4.1 ล้านตันต่อปี โดยในแต่ละปีข้าวส่วนหนึ่งจะถูกทำลายโดยมอดแป้ง (เลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ , 2558)

ตัวมอดแป้ง ตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนแดง ลำตัวแบนยาว ปลายหนวดเป็นรูปทรงกระบอก ตัวเมียวางไข่ประมาณ 400-500 ฟอง ตามกระสอบ รอยแตกของเมล็ดข้าวหรือในแป้ง ไข่มีรูปร่างยาวรี สีขาว มีสารเหนียวหุ้ม ทำให้เกาะติดอาหารได้ง่าย ตัวเมียอาจผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง วางไข่บนอาหารปริมาณการวางไข่ขึ้นอยู่กลับอุณหภูมิ

35 °c ความชื้นสัมพันธ์ 75 % ไข่จะฟักใน 3-7 วัน หนอนสีน้ำตาลอ่อนเรียวยาว และอาศัยอยู่ในแป้ง ใช้เวลา 21-40 วัน โดยมีการลอกคราบ 7-8 ครั้ง ระยะดักแด้ 3-7 วัน วงจรชีวิตใช้เวลา 26-40 วัน

ตัวเต็มวัยมอดแป้งอาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 6 เดือน ตัวเต็มวัยของมอดแป้งมีพฤติกรรมกัดกินไข่และดักแด้ของมันเอง มอดแป้งมักแป้งมักมีนิสัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่จะติดมากลับเมล็ดพันธุ์ วัสดุหีบห่อ การเข้าทำลาย เกิดจากตัวเต็มวัยเข้ากัดกินผิวเมล็ดพืชที่มีแมลงในโรงเก็บชนิดอื่นเข้าทำลายในเมล็ดแตกหักแล้ว ความเสียหายเกิดได้ทั้งจากตัวหนอนและตัวเต็มวัย แป้งที่มอดเข้าทำลายจะมีกลิ่นเหม็น

โดยที่มอดแป้งมียีนที่สร้างรีเซพเตอร์รับกลิ่น(odorant receptor) 340 ยีน และรีเซพเตอร์รับรส (gustatory receptor) 340 ยีน ถือว่าเป็นจำนวนที่มากเมื่อเทียบกับแมลงกลุ่มแมลงหวี่ (ประมาณ 60 ยีน) หรือกลุ่มผีเสื้อ (40-70 ยีน) ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการปรับตัวเพื่อให้ใช้อาหารได้หลากหลาย และสามารถหาแหล่งอาหารได้กว้าง ยีนรีเซพเตอร์รับกลิ่นมีการแสดงออกต่างกันในตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยตัวเต็มวัยมีจำนวนยีนแสดงออกมากกว่า และยีนที่แสดงออกในตัวอ่อนเกือบทั้งหมดแสดงออกในตัวเต็มวัยด้วยดังนั้นมอดแป้งจึงมีประสาทรับกลิ่นได้ดีมาก จึงทำให้พืชที่มีกลิ่นแรงสามารถไล่พวกมอดแป้งในข้าวเปลือกได้ (เรือน ทองจำรัส , 2556)

กลุ่มผู้ศึกษาจึงต้องค้นหาวิธีการใช้สมุนไพรใกล้ตัว ช่วยในการการ กำจัดมอดออกจากข้าวสาร เพื่อรักษา

คุณภาพของข้าวสาร จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพรใกล้ตัว ซึ่งประกอบด้วยใบมะกรูด กระเทียม

และโหระพา ซึ่งเป็นสมุนไพรธรรมชาติที่มีกลิ่นแรง อยู่ทั่วไปและหาง่าย นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์