การย้อมเนื้อเยื่อลำต้นและใบพืชจากสีที่ได้จากธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วิไลลักษณ์ ผลทับทิม, อรพรรณ เชื้อสระพัง, พัชราภา ขุนศิริ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัทมวรรณ ปัตตะเน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการย้อมสีเนื้อเยื่อลำต้นและใบพืชด้วยสีที่ได้จากธรรมชาติ แทนการใช้สีสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ โดยทดสอบประสิทธิภาพการเป็นสีย้อมของสีย้อมจากธรรมชาติ ทั้ง 2 สี ได้แก่ สีแดง ที่ได้จากบีตรูท สีเหลืองที่ได้จากขมิ้นชัน เข้มข้นร้อยละ 1 ในเอทานอลร้อยละ 95 ซึ่งใช้ตะปูสนิมเป็นสารช่วยติดสี และทดสอบการย้อมสีกับพืชตัวอย่าง 3 ชนิด ได้แก่ ลำต้นหมอน้อย (Vernonia cinerea (L.) Less) ใบตำลึง (gourd leaves) ใบพริก (chilli leaves)
ผลการทดลองพบว่า เอทานอลร้อยละ 95 เป็นตัวทำละลายที่เหมาะสม โดยสีย้อมผ้าสีแดง สีเหลือง ในเอทานอลร้อยละ 95 ความเข้มข้นร้อยละ 1 สามารถใช้ย้อมเนื้อเยื่อลำต้นหมอน้อยได้โดยไม่ต้องใช้สารช่วยติดสี ส่วนสีจากธรรมชาติสีแดงและสีเหลือง ในเอทานอลร้อยละ 95 ความเข้มข้นร้อยละ 1 สามารถย้อมติดเนื้อเยื่อชั้นผิวใบพริก และเนื้อเยื่อชั้นผิวใบตำลึงได้ทั้ง 2สี โดยสีจากธรรมชาติสีแดงสามารถย้อมติดได้ดีที่สุด เมื่อใช้สารช่วยติดสี
คำสำคัญการย้อมสี เนื้อเยื่อลำต้น เนื้อเยื่อชั้นผิวใบ สีจากธรรมชาติ สารช่วยติดสี