ความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการกำจัดกลิ่นบูดู และปริมาณแทนนินจากเปลือกทุเรียน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อิรฮาม เล็งนู, อามีเราะห์ หะยีมะมิง, จีรวัฒน์ ราฮามัน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มูฮัมหมัดริฎวาน สมานุรัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
“บูดู”เป็นอาหารที่อยู่ในสำรับแทบทุกบ้าน บูดูเป็นอาหารที่เกิดจากการหมักของปลาและเกลือ มีรสชาติอร่อยจากกรดกลูตามิก แต่กระนั้นก็ตาม บูดูเป็นอาหารที่มีกลิ่น กลิ่นของบูดูมาจากกลิ่นของโปรตีน ไขมัน และแอมโมเนีย เมื่อรับประทานแล้ว กลิ่นอาจจะติดมือ ติดปากเป็นที่น่ารังเกียจหากต้องเข้าสังคม เช่นไปมัสยิด ไปตลาด หรือ พูดคุย
เมื่อรับประทานทุเรียนหรือบูดู แล้วมีกลิ่นติดมือ สามารถนำเปลือกทุเรียน แช่น้ำ และนำน้ำมาล้างมือ จะสามารถกำจัดกลิ่นได้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่าเหตุใดเปลือกผลไม้กลิ่นแรงสามารถกำจัดกลิ่นเหม็นได้
โครงงานวิทยาศาสตร์นี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพในการกำจัดกลิ่นบูดู และปริมาณสารแทนนินจากการตกตะกอนไข่ขาวการแช่เปลือกทุเรียน มีสองวิธี วิธีแรกคือ การแช่ในน้ำ ตามวิธีภูมิปัญญาท้องถิ่น และอีกวิธีเป็นวิธีการสกัดแทนนินอย่างง่ายด้วยการนำน้ำแช่ไปผ่านความร้อนที่ไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส (อาฟานดี และคณะ, 2559) ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดกลิ่นพบว่า น้ำแช่เปลือกทุเรียนมีความพึงพอใจที่ 4.1 อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และน้ำแช่เปลือกทุเรียนที่ผ่านความร้อนมีความพึงพอใจที่ 4.7 อยู่ในเกณฑ์ดี และเมื่อนำน้ำแช่ทุเรียนทั้งสองวิธีไปตกตะกอนไข่ขาว พบว่าตะกอนไข่ขาวจากน้ำแช่เปลือกทุเรียนให้ตะกอนเฉลี่ย 20.66 กรัม น้ำแช่เปลือกทุเรียนที่ให้ความร้อนไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส ให้ตะกอนเฉลี่ย 32.4 กรัม
ซึ่งแสดงผลว่า น้ำแช่เปลือกทุเรียนที่ผ่านความร้อนมีความสามารถในการกำจัดกลิ่นที่ดีกว่าน้ำแช่เปลือกทุเรียน และมีน้ำหนักตะกอนแทนนินมากกว่าเช่นกัน แสดงความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการกำจัดกลิ่นนั้นแปรผันตรงกับปริมาณแทนนิน