การศึกษาประสิทธิภาพในการลดรอยแผลเป็นด้วยสาร Quercetin จากกากใบชาเขียว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีริศราวรรณ ปัญญะบูรณ์, เอื้อมฟ้า สายตา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุณิสา คงคาลัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการลดรอยแผลเป็นด้วยสาร Quercetin จากกากใบชาเขียว ในส่วนของการสกัดสารสกัดหยาบนั้น ให้ชั่งส่วนของกากใบชาเขียวมา 50 กรัม เติมตัวทำละลาย 50% H2O/EtOH จำนวน 150 มิลลิลิตร นำมาสกัดด้วยวิธีการตุ๋น (Digestion) ด้วยเครื่องเขย่าสารที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 ชั่งโมง ทิ้งไว้ให้เย็นสักครู่และนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วนำสารสกัดที่ได้จากการกรองมาสกัดต่อโดยใช้การสกัดแบบแบ่งส่วน ด้วยตัว ทำละลายคือ 20% EtOH/EtOAc จำนวน 100 มิลลิลิตร ทำซ้ำ 2 ครั้ง จะได้สารสกัดที่ต้องการ และนำไประเหยตัว ทำละลายออกด้วยเครื่องกลั่นระเหยสารแบบหมุน ก็จะได้สารสกัดหยาบออกมา จากนั้นนำไปหาความเข้มข้น Quercetin ที่ได้จากการสกัดโดยการใช้ Spectrophotometer เพื่อหาค่าการดูดกลืนแสงและนำมาคำนวณหาความเข้มข้นของ Quercetin โดยสารสกัดหยาบที่ได้จากการสกัดจะนำไปทดสอบกับคนกลุ่มตัวอย่างที่มีแผลเป็นอายุประมาณ 1 เดือนและอยู่ในช่วงอายุที่ใกล้เคียงกันมาทดสอบด้วยการทาสารสกัดหยาบลงบนแผลเป็นของกลุ่มทดลอง หลังจากนั้นทำการประเมินสภาพรอยแผลเป็นทุกสัปดาห์เป็นระยะเวลา 2 เดือน แล้วนำการประเมินที่ได้มาวิเคราห์ประสิทธิภาพในการลดรอยแผลเป็นด้วยสาร Quercetin จากกากใบชาเขียว
หลังจากนั้นทำการประเมินสภาพรอยแผลเป็นทุกสัปดาห์เป็นระยะเวลา 2 เดือน แล้วนำการประเมินที่ได้มาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพในการลดรอยแผลเป็นด้วยสาร Quercetin จากกากใบชาเขียว