โครงงานการสกัดสารเซลลูโลสจากเปลือกส้มโอ เพื่อผลิต Alcohol pad สำหรับฆ่าเชื้อโรค

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เมษาวดี เเก้วอุดม, อภิญญา หมื่นศรี, มุทิตา โภคาลัย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ชไมพร พุมดวง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปากพนัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การวิจัยครั้งนี้เป็นการสกัดสารเซลลูโลสจากเปลือกส้มโอ เพื่อผลิต Alcohol pad สำหรับฆ่าเชื้อโรค กระบวนการเริ่มต้นจากการสกัดเซลลูโลส โดยนำเปลือกส้มโอ 30 กรัม ไปปั่นให้มีความละเอียดปานกลาง ใส่น้ำกลั่น 600 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์ ไปต้มบนเครื่อง Hot plate ให้มีอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ใช้เวลาคน 1 ชั่วโมง ครบเวลา 1 ชั่วโมง นำเปลือกส้มที่สกัดไปกรองผ้าขาว นำกรดอะซิติกใส่ลงไปในสารที่สกัด ครั้งละ 50 มิลลิลิตร ใช้ไปทั้งหมด 120 มิลลิลิตร วัดค่า pH 3.5 – 4.0 นำไปต้มบนเครื่อง Hot plate ที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส คนสารไป 2 ชั่วโมง ครบเวลา 2 ชั่วโมง นำไปกรอง ใส่สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ 75 มิลลิลิตร และเติมน้ำกลั่น 625 มิลลิลิตร คนที่อุณหภูมิห้อง ใช้เวลา 6 ชั่วโมง เวลาครบ 6 ชั่วโมงนำไปกรอง นำไปล้างด้วยน้ำกลั่นให้ได้ pH 6.0-7.0 แล้วฟอกขาวด้วยสาร ไฮโดนเจนเพอร์ออกไซด์ใส่สารละลาย จากนั้นขึ้นรูปและชุบแอลอกฮอล์ พบว่า ปริมาณผลผลิตของสารสกัดที่ได้มีค่าเท่ากับ 2.23 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อนำมาทดสอบเซลลูโลสด้วยวิธี FT -IR มีหมู่ฟังก์ชันของเซลลูโลส นำเซลลูโลสจากเปลือกส้มโอทดสอบโครงสร้างด้วยวิธี FT-IR พบพีคที่ 3329.40 cm-1 ซึ่งเป็นการสั่นของ O-H (O-H stretching) และ 2932.30 cm-1 ซึ่งเป็นการสั่นของ C-H (C-H stretching) ที่ 1400-1200 cm-1 และ 900-600 เป็นการสั่นของ CH2(CH2 bending and wagging ) และพบการสั่นของ C-O (C-O stretching) ที่ 1016.02 cm-1 สามารถยืนยันโครงสร้างเซลลูโลสจากการสกัดสารจากเปลือกส้มโอ และประสิทธิภาพของ Alcohol pad จากเปลือกส้มโอ สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อโรค ได้ดีที่สุด