การศึกษาผลของ Opiorphin และ Morphine ต่อการทำงานของ Lower Esophageal Sphincter และการหดตัวของ Ileum
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุคน ง้อสุรเชษฐ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิศเรศ เมืองนิล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในทางการแพทย์มีการใช้มอร์ฟีนเพื่อรักษาอาการปวดจากโรคอย่างแพร่หลาย โดยจากการศึกษาพบว่ามอร์ฟีนมีประโยชน์อย่างมากในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องประคับประคองอาการหรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษาและผู้ป่วยโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ที่มีอาการปวดจากการอุดตันของเส้นเลือด และโรคอื่นๆ อีกมาก แต่การใช้มอร์ฟีนในการรักษาโรคอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงได้ โดยผลข้างเคียงที่รุนแรงมักพบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยภาวะขาดสารอาหาร หรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลีย ตัวอย่างผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่พบได้ เช่น ง่วงซึม เวียนหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก มีเหงื่อออกมาก รู้สึกมีความสุขหรือเศร้าอย่างรุนแรง เป็นต้น ในบางกรณี ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับมอร์ฟีนต่อเนื่อง แม้ว่าจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา หากแพทย์พบว่าประโยชน์ด้านการบรรเทาความเจ็บปวดมีมากกว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาไม่ได้มีเพียงแค่อาการเสี่ยงจากผลข้างเคียง แต่ยังเป็นปัญหาเกี่ยวกับปริมาณยาที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยอีกด้วย
ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงคิดที่จะพัฒนานำเอาสาร Opiorphin มาพัฒนาเพื่อเป็นสารระงับความเจ็บปวดแทนมอร์ฟีน จากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences (vol 103, p 17979) ระบุว่าสารตัวนี้เป็นสารประกอบทางเคมีภายในร่างกายที่แยกได้จากน้ำลายของมนุษย์เป็นครั้งแรก จากการทดลองเบื้องต้นกับหนูทดลองแสดงให้เห็นว่าสารประกอบนี้มีฤทธิ์ระงับปวดมากกว่ามอร์ฟีน มันทำงานโดยหยุดการแตกตัวตามปกติของ Enkephalins ซึ่งเป็น Opioids ที่ฆ่าความเจ็บปวดตามธรรมชาติในไขสันหลัง Opiorphin เป็นโมเลกุลที่ค่อนข้างง่ายซึ่งประกอบด้วยพอลิเปปไทด์กรดอะมิโน 5 ชนิดคือ Gln-Arg-Phe-Ser-Arg