การตรึงสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อใช้เป็นต้นแบบในระบบบำบัดน้ำเสียอย่างยั่งยืน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนกฤต วงษ์สถิตย์, จิรเมธ คิญชกวัฒน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิมพ์ศิริ ด่านพิษณุพันธุ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
สาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่งที่สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยสารอาหารที่มีอยู่ในน้ำเสีย นอกจากจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แล้ว สาหร่ายเหล่านี้ยังสามารถสังเคราะห์แสงได้ และให้ผลผลิตเป็นก๊าซออกซิเจนที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง มีหลายงานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับการใช้สาหร่ายขนาดเล็กในการบำบัดน้ำเสีย และนำสาหร่ายเหล่านั้นมาบีบเอาน้ำมันภายในเซลล์มาใช้เป็นพลังงานทางเลือกไบโอดีเซล อย่างไรก็ตามข้อเสียของการใช้สาหร่ายขนาดเล็กในการบำบัดน้ำเสียคือการอุดตันของตัวกรอง ทางกลุ่มผู้วิจัยจึงใช้วิธีการตรึงสาหร่ายขนาดเล็กโดยเลือก Chlorella vulgaris เป็นตัวแทน และใช้โซเดียมอัลจิเนตที่ความเข้มข้น 1% 1.5% และ 2% เป็นตัวตรึงสาหร่าย ไว้ในลักษณะเป็นเม็ดสาหร่ายอัลจิเนต จากนั้นศึกษาความคงตัวของเม็ดอัลจิเนตโดยดูการปลดปล่อยสาหร่ายลงในน้ำที่ใช้เลี้ยง คือน้ำกลั่น และน้ำเสียที่ได้จากการผสมขึ้นมาในห้องทดลอง นอกจากนี้สังเกตการเปลีี่ยนแปลงของชุดทดลองทุกๆ 3 วัน โดยดูจากสีที่เปลี่ยนแปลง วัดปริมาณคลอโรฟิลด์ภายในเม็ดสาหร่าย และในน้ำที่ใช้เลี้ยง ค่า pH การสังเคราะห์แสงของสาหร่าย ความสามารถในการดูดซึมธาตุอาหาร รวมทั้งทดสอบหาสารที่เหมาะสมในการสลายเม็ดอัลจิเนต จากการทดลองนี้ผู้ทำวิจัยหวังว่ามื่อเราสามารถแก้ปัญหาการอุดตันของตัวกรองได้ รวมทั้งรู้ระยะเวลาที่ควรจะเก็บเม็ดสาหร่ายอัลจิเนตก่อนความสามารถในการตรึงสาหร่ายจะลดลง และปลดปล่อยสาหร่ายออกสู่แหล่งน้ำซึ่งเป็นสาเหตุของตัวกรองอุดตัน สาหร่ายขนาดเล็กจะยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการบำบัดน้ำเสียที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพ