เซลล์ไฟฟ้าจากดินเหนียว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วรกมล ขวัญจันทร์, ณัฐสิริ แก้วสมทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สิริมนต์ ประดับ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เซลล์ไฟฟ้าเคมีจากดินเหนียว มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาดินชนิดต่างๆที่เหมาะสมในการนำมาสร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมี เพื่อศึกษาสภาพความเป็นกรด เบส ในดินที่เหมาะแก่การสร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมี เพื่อศึกษาชนิดของขั้วโลหะที่เหมาะสม เพื่อศึกษาการต่อเซลล์ดินแบบต่างๆ
ผลการศึกษาพบว่า ดินเหนียวเหมาะที่จะนำมาสร้างเซลล์ไฟฟ้ามากที่สุดเนื่องจากวัดค่าความต่างศักย์และค่ากระแสไฟฟ้า ได้สูงที่สุดรองลงมาคือ ดินร่วน ดินลูกรัง ดินทรายละเอียดและดินทรายหยาบตามลำดับ คู่โลหะที่เหมาะสมสำหรับทำเป็นขั้วอิเล็กโทรด คือ ทองแดง สังกะสี เนื่องจาก สังกะสีเสียอิเล็กตรอนง่าย หรือเป็นตัวรีคิวซีที่ดี ส่วนโลหะไอออนของทองแดง รับอิเล็กตรอนได้ง่ายทาสุดหรือเป็นออกซิไดซ์ที่ดี สภาพดินเหนียวที่จะนำมาสร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมีได้ดีที่สุดคือ สภาพดินเหนียวที่เป็นกรด รองลงมาสภาพดินเหนียวที่เป็นเบส เกลือ และ กลาง ตามลำดับ การเพิ่มความยาวขั้วโลหะ ทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น การต่อเซลล์แบบอนุกรมค่าความต่างศักย์จะเพิ่มขึ้นแต่ค่ากระแสไฟฟ้าจะเท่าเดิม และเข็มนาฬิกาไม่กระดิกไม่ทำงานอ่านเวลาไม่ได้ การต่อเซลล์แบบขนานค่าความต่างศักย์เท่าเดิมและค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ช่วยให้เข็มนาฬิกากระดิกอ่านค่าเวลาได้แม่นยำ ทำให้ค่าความต่างศักย์และค่ากระแสไฟฟ้าสูงพอกันกับเครื่องคิดเลข นาฬิกาหลอดไดโอดทำงานได้ดี เป็นการนำพลังงานสะอาดที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์