การศึกษาปรากฎการณ์การเคลื่อนที่ของฟองอากาศในของเหลว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชินวัฒน์ วงค์เกตุ, ณัฐนันท์ พุ่มพวง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นิติ ไชยวงคต

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของฟองอากาศในของเหลว โดยการศึกษานี้จะศึกษาจากของเหลวที่มีความแตกต่างกัน คือ น้ำกลั่น น้ำมันพืช วัตถุประสงค์ของโครงงานนี้ คือ สามารถอธิบายลักษณะการเคลื่อนที่ของฟองอากาศในของเหลวได้ ปัจจัยที่จะศึกษา ได้แก่ ลักษณะการเคลื่อนที่ของฟองอากาศในของเหลว โดยการทดลองศึกษาปรากฏการณ์นี้จะทดลองในตู้ใสขนาด 14 นิ้ว และสร้างฟองอากาศโดยใช้ปั๊มลม และจะมีการวัดความเร็วของฟองอากาศโดยใช้แอพลิเคชัน Tacker จากการถ่ายvideo จากการศึกษาพบว่าการเคลื่อนที่ของฟองอากาศในของเหลวนั้นมีลักษณะการเคลื่อนที่ที่ไม่แน่นอน ทั้งในของเหลวที่ต่างกันทั้งสามชนิด โดยลักษณะการเคลื่อนที่ที่เกิดขึ้นมีทั้งการหมุนแบบเกลียวโดยเริ่มต้น และจะคงอยู่ในสภาวะนี้ในช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจะเกิดการเคลื่อนที่แบบหมุนในช่วงระยะเวลาสั้นๆ โดยสภาวะการเคลื่อนที่หลังจากนั้นจะเกิดการเคลื่อนที่ขึ้นแนวตรงและมีความเร็วคงที่ ซึ่งการเคลื่อนที่ที่เกิดขึ้นนี้มีลักษณะการเกิดที่คล้ายกันในของเหลวทั้งสามชนิด แต่แตกต่างกันที่ระยะเวลาในการเกิดอาจเป็นผลมาจากค่า ความหนาแน่นของของเหลว(ρ) , สัมประสิทธิ์ความหนืด (η) ซึ่งส่งผลต่อความเร่งของอนุภาค( a) ,แรงลอยตัว (Fลอยตัว) ,แรงหนืด (Fหนืด) ทั้งนี้โครงงานนี้สามารถต่อยอดต่อไปได้ในการบำบัดน้ำเสียบางวิธี เช่น การบำบัดน้ำเสียจากการตกตะกอนด้วยไฟฟ้านั้น ฟองอากาศจะทำให้น้ำเกิดการแยกตัวกัน ทำให้บำบัดน้ำเสียได้ เป็นต้น