คุณลักษณะของฟิล์มที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากแป้งกล้วยพันธุ์ต่างๆ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นิบูซลา หะยีกอเดร์, นูรฟาฎีละห์ ประยูรโต

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ธรรมรัตน์ แก้วมณี, ภควรรษ ทองนวลจันทร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่อำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ได้มาจากกระบวนการปิโตรเคมี แต่เนื่องด้วยความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพที่ย่อยสลายได้ยากส่งผลกระทบด้านลบให้กับสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ทางผู้จัดทำจึงต้องการศึกษาว่าฟิล์มบรรจุภัณฑ์จากวัสดุชีวภาพ โดยเฉพาะจากกล้วย (กล้วยน้ำไทย และกล้วยหักมุกพม่า) สามารถนำมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพที่มีประสิทธิภาพทั้งในด้านความทดทานและในการย่อยสลายเพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก เป็นทางออกในการกำจัดขยะพลาสติกและลดภาวะโลกร้อน โดยฟิล์มบรรจุภัณฑ์จากวัสดุชีวภาพที่มีกลีเซอรอลและซอบิทอลเป็นพลาสติกไซเซอร์ และนำฟิล์มที่ได้ไปศึกษาคุณลักษณะต่างๆของฟิล์มทั้งทางเคมีและกายภาพ และข้อมูลจากการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาต่อยอดขั้นสูงต่อไป