การชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาของฟ้าทะลายโจร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธิญาดา แซ่ฮ่อ, พลพิทักษ์ รัตน์น้อย, ธัญชนก จินดายล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สาแลฮะ ดีซะเอ๊ะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานการชักนําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาของฟ้าทะลายโจรโดยใช้สารโคลชิซีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากสารโคลชิซีนต่อการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของฟ้าทะลายโจร โดยดำเนินการ คัดเลือกเมล็ดฟ้าทะลายโจรที่สมบูรณ์ 10 - 15 เมล็ด นําเมล็ดมาแช่ในสารละลายโคลชิซินที่ความเข้มข้น 0 100 200 และ 300 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ละสิ่งทดลองใช้เมล็ดฟ้าทะลายโจร 10 - 15 เมล็ด แช่เมล็ดในขวดขนาด 500 มิลลิลิตร ทำการแช่นาน 6 , 12 , 18 , 24 , 30 , 36 , 42 และ 48 ชั่วโมง ใน ที่มืด ณ อุณหภูมิห้อง เมื่อครบเวลาตามที่กำหนดไว้ จึงนําเมล็ดมาปลูก สังเกตการณ์เจริญเติบโตของเมล็ดฟ้าทะลายโจรและทำการบันทึกข้อมูลลักษณะต่าง ๆ คือ 1 เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดในแต่ละชุด 2 การเจริญเติบโตทำการการวัดความสูง ขนาดใบโดยการวัดความกว้างและความยาวของใบ
ผลของการทดลองเป็นไปดังนี้ ความเข้มข้นมากจะเหมาะกับเวลาน้อย ๆ ถึงจะให้อัตราการเจริญเติบโตสูงและมีอัตราการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาของฟ้าทะลายโจร ส่วนความเข้มข้นน้อยจะเหมาะกับเวลามาก ๆ ถึงจะให้อัตราการเจริญเติบโตสูงและมีอัตราการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาของฟ้าทะลายโจรสูง ความเข้มข้นแปรผกผันกับการเจริญเติบโต ความเข้มข้นมาก ตายง่าย แต่อัตราการเกิดการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาของฟ้าทะลายสูง ส่วนความเข้มข้นน้อย รอดง่าย แต่อัตราการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาของฟ้าทะลายโจรต่ำ