การเตรียมและพัฒนาสูตรยางรีไซเคิลสำหรับอุตสาหกรรมรองเท้า
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
โนรฟาตีมี อารงค์, อาวณีย์ อิสลามกุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ซีตีไซยีดะห์ สายวารี, อนุวัติ เเซ่ตั้ง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางมีเศษยางเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในกระบวนการผสมยางและสารเคมี การขึ้นรูปยาง และการคงรูปยาง หรือการวัลคาไนซ์ยาง (Vulcanization) เศษยางเหล่านี้กลายเป็นขยะอุตสาหกรรมหรือของเสียอุตสาหกรรมที่ต้องมีการจัดการตามหลักการจัดการของเสียในอุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการจัดการ กลายเป็นส่วนหนึ่งในต้นทุนการผลิต ดังนั้นจึงมีงานวิจัยที่พยายามนำเศษยางเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าของเศษยาง โครงการวิจัยนี้ได้นำเศษยางธรรมชาติเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตมารีไซเคิลผ่านกระบวนการดีวัลคาไนซ์ด้วยวิธีทางกลร่วมกับใช้ความร้อนและใช้สารช่วยในการดีวัลคาไนซ์กลุ่มไดซัลไฟด์ (Disulphides) โดยเริ่มด้วยการนำเศษยางธรรมชาติที่ผ่านการรีดผ่านลูกกลิ้งแล้วมาบดผสมในเครื่องผสมแบบปิดเป็นเวลา 1 นาที แล้วเติมไดฟีนิลไดซัลไฟด์ (Diphenyl disulfide, DPDS) 30 mmol พร้อมกับน้ำมัน Treated Distillate Aromatics Extract (TDAE) 5 phr แล้วบดผสมต่อจนครบ 5 นาที ที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส จากนั้นนำยางรีไซเคิลออกมาทำให้เย็นที่อุณหภูมิห้องและกำลังอยู่ในขั้นตอนทำการศึกษาผลของการใส่ยางรีไซเคิลที่เตรียมได้ต่อสมบัติเชิงกลของยางเบลนด์ระหว่างยางรีไซเคิลกับยางใหม่ โดยแปรสัดส่วนปริมาณยางรีไซเคิล โดยสัดส่วน ยางรีไซเคิล/ยางใหม่ เป็น 0/100, 5/95, 10/90, 15/85, 20/80, 25/75, 30/70, 40/60 และ 50/50 จากนั้นจึงจะนำยางเบลนด์ที่ได้ไปทำการทดสอบสมบัติเชิงกลต่างๆ เช่น สมบัติการดึง (Tensile properties) ได้แก่ ความต้านทานต่อแรงดึง ระยะยึดที่จุดขาด และมอดุลัส, ความแข็ง (Hardness), ความทนทานต่อการบ่มเร่ง (Aging resistance) และ การผิดรูปของยางเนื่องจากการอัด (Compression Set) ต่อไป