การศึกษาการแสดงออกของยีน DMC1, Cyclin B, Nanos ในกุ้งแชบ๊วย เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุล ในการติดตามการเจริญของอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของกุ้งเเชบ๊วย (Fenneropenaeus merguiensis)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สรวีย์ บุญมีประกอบ, นภัสนันท์ แซ่ลิ่ม, สิรีญณาฐ โก
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อารีย์ สักยิ้ม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กุ้งแชบ๊วย (Fenneropenaeus merguiensis (de Man, 1888)) มีความทนทานต่อสภาพเเวดล้อมทีเปลี่ยนแปลงไปต่ำ เกษตรกรจึงหันมาเลี้ยงกุ้งขาวซึ่งเลี้ยงง่ายกว่ากุ้งแชบ๊วย ซึ่งกุ้งขาวเป็นกุ้งต่างถิ่น ดังนั้นหากกุ้งขาวที่เลี้ยงเเพร่กระจายไปในทะเล อาจทำให้กุ้งเเชบ๊วยในทะเลลดน้อยลงจนสูญพันธุ์ได้ โครงงานนี้จึงศึกษาปริมาณการแสดงออกของยีน DMC1, Cyclin B, Nanos ซึ่งมีอยู่ในฐานข้อมูล เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุลในการติดตามการเจริญของอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของกุ้งเเชบ๊วย (Fenneropenaeus merguiensis) ที่ได้ปลูกถ่ายไปในกุ้งสายพันธุ์อื่นที่ แข็งแรงกว่า เพื่อเพิ่มจำนวนกุ้งเเชบ๊วยที่อาจจะลดลงในอนาคต
โดยใช้วิธี RNA Extraction จากรังไข่และอัณฑะของกุ้งแชบ๊วย แล้วเปลี่ยน RNA ที่สกัดได้เป็น cDNA โดยใช้วิธี Reverse transcription หลังจากนั้นจึงนำ cDNA มาทำ Real time PCR เพื่อหาปริมาณการแสดงออกของยีน DMC1, Cyclin B, Nanos ในกุ้งเพศผู้และเพศเมียระยะ Mysis, Juvenile, Adult จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์โดยใช้ Independent-Samples T-Test of SPSS version 15.0 software ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยโครงงานนี้คาดว่าปริมาณการแสดงออกของยีน DMC1, Cyclin B, Nanos จะแตกต่างกันในแต่ละระยะที่สนใจ จากนั้นจึงนำไปใช้ติดตามระยะการเจริญของอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของกุ้งแชบ๊วยที่ถ่ายฝากในกุ้งสายพันธุ์อื่น