นวัตกรรมการดูดซับโลหะหนักและคราบน้ำมันด้วยโฟมยางแทนนินที่สกัดได้จากพืชป่าชายเลน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฏฐ์นรี ฑีฆะ, ปริเยศ พราหมณ์น้อย, นราธิป แก้วแกลบ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศุภร อังษานาม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
“นวัตกรรมการดูดซับโลหะหนักและคราบน้ำมันด้วยโฟมยางแทนนินที่สกัดได้จากพืชป่าชายเลน”
เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ที่จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการสกัดสารแทนนินจากใบพืชป่าชายเลน โดยนำมาประยุกต์กับโฟมยางเพื่อใช้ในการดูดซับโลหะหนักและคราบน้ำมัน ในการนำไปบำบัดน้ำเสียตามแหล่งน้ำชุมชนโดยมีขั้นตอนการดังนี้ ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารแทนนินที่ได้จากใบพืชป่าชายเลน 11 ชนิด ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ขลัก จาก ตะบัน ตะบูนขาว โปรงแดง ลำแพน แสมขาว แสมดํา และเหงือกปลาหมอ พบว่า สารสกัดจากใบจาก มีปริมาณสารแทนนินมากที่สุด คือ 35.80 กรัม/กิโลกรัม เมื่อสกัดด้วยตัวทำละลายอะซิโตน รองลงมาคือ สารสกัดจากใบโปรงแดงมีปริมาณสารแทนนิน คือ 24.00 กรัม/กิโลกรัม จากนั้นศึกษาผลของความเข้มข้น และระยะเวลาในการสกัดสารแทนนินจากใบจาก พบว่า สารสกัดจากใบจากด้วยตัวทำละลายะซิโตน 70% เป็นเวลา 5 ชั่วโมง มีปริมาณสารแทนนินมากที่สุดคือ 35.80 กรัม/กิโลกรัม รองลงมาคือ สารสกัดจากใบจากด้วยตัวทำละลายอะซิโตน 70% เป็นเวลา 1 และ 7 ชั่วโมง มีปริมาณสารแทนนินเท่ากันคือ 26.40 กรัม/กิโลกรัม แล้วนำไปศึกษาหาประสิทธิภาพการตกตะกอนของไอออนโลหะหนักด้วยสารแทนนินที่สกัดจากใบจาก พบว่า สารแทนนินจากใบจากสามารถดูดซับไอออนโลหะหนัก ZnSO4ได้ดีที่สุด คือ 2.78 กรัม คิดเป็นร้อยละ 34.45 รองลงมาคือ สารแทนนินจากใบจากสามารถดูดซับไอออนโลหะหนัก Pb(NO2)3 ได้ 4.83 กรัม คิดเป็นร้อยละ 29.17 จากนั้นศึกษาโฟมยางที่มีผลต่อการดูดซับคราบนํ้ามันและตกตะกอนไอออนโลหะหนัก พบว่า โฟมยางสามารถดูดซับคราบน้ำมันหล่อลื่นได้ดีที่สุดคือ 48.10 ลูกบาศก์เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 96.20 และสามารถตกตะกอนโลหะหนัก ZnSO4ได้มากที่สุดคือ 0.51 กรัม คิดเป็นร้อยละ 6.32 และศึกษาโฟมยางแทนนินที่มีผลต่อการดูดซับคราบนํ้ามันและตกตะกอนไอออนโลหะหนัก พบว่าโฟมยางแทนนินสามารถดูดซับคราบน้ำมันหล่อลื่นได้ดีที่สุดคือ 49.00 ลูกบาศก์เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 98.00 และสามารถตกตะกอนโลหะหนัก ZnSO4ได้มากที่สุดคือ 6.15 กรัม คิดเป็นร้อยละ 26.69