หุ่น CPR อัจฉริยะ นวัตกรรมฝึกทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กันต์กนิษฐ์ น้อมศิริ, เนตรชนก มาตพันธ์, ชานุวัฒน์ เอมรัฐ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สมบัติ ชนะใหญ่, นริศรา พงษ์จินดา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในการพัฒนาระบบการช่วยชีวิตนั้น ประชาชน ชุมชน สถาบันการแพทย์ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินได้เป็นอิสระต่อกัน แต่การจะช่วยผู้ป่วยให้รอดชีวิต จำเป็นต้องมีแผนการจัดการที่ครอบคลุมและประสานกัน โดยเน้นให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือได้ครบทุกขั้นในห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต อัตราการรอดชีวิตที่แท้จริงจึงจะสัมฤทธิ์ผลได้ คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต (Thai Resuscitation Council ; TRC) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งในปี พ.ศ.2538 โดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Heart Association of Thailand under the Royal Patronage H.M. The King) เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการสอนการช่วยชีวิตที่ได้มาตรฐาน ได้ทำงานประสานกันทั้งภายในประเทศ และร่วมมือกับหน่วยงานนานาชาติ ได้แก่ Resuscitation Council of Asia , Operation smiles เป็นต้น เพื่อให้งาน CPR ของประเทศไทย ได้พัฒนาก้าวหน้าเป็นพึ่งของผู้เจ็บป่วยและเป็นมาตรฐานที่ดีในการฝึกอบรม CPR ของประเทศ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะได้ทำงานร่วมกันเพื่อความก้าวหน้าในศาสตร์การช่วยชีวิตและเพื่อประโยชน์สูงสุดแด่ผู้ป่วยไทยต่อไป (สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์,2566)

หุ่นจำลองการฝึกปฐมพยาบาลช่วยเหลือผู้หยุดหายใจเบื้องต้น เป็นการฝึกทักษะทีมที่สำคัญเฉพาะด้าน เป็นการช่วยชีวิตที่มีประสิทธิภาพตามห่วงโซ่การรอดชีวิต พัฒนาทักษะและความแม่นยำของผู้ฝึกในการทำปฐมพยาบาลช่วยเหลือผู้หยุดหายใจเบื้องต้น (CPR) ดังนั้นจึงมีความสำคัญมากสำหรับหารพัฒนาทักษะและการวัดค่าตัวแปรต่างๆ โดยตัวหุ่นจำลองการฝึกในปัจจุบันยังคงมีต้นทุนของหุ่นจำลองการฝึกทีมที่สูง ทำให้เป็นทีมที่ขาดแคลนตามสถานที่การฝึกต่างๆ

คณะผู้จัดทำโครงงานจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่วยชีวิตผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ในการจัดทำ โครงงานสิ่งประดิษฐ์หุ่น CPR อัจฉริยะ นวัตกรรมฝึกทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ ที่มีเทคโนโลยีอัจฉริยะ มีอุปกรณ์ตรวจจับการกดหน้าอกที่สามารถนับจำนวนครั้ง วัดระยะของการยุบตัวและการคืนตัวของหน้าอกในคนไข้จำลอง ตามประสิทธิภาพของการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ตามหลัก High Quality CPR และ ไฟแสดงสถานะนำผลแสดงหน้าจอ LCD เพื่อพัฒนาการฝึกทักษะทีมหรือผู้ที่สนใจการฝึกทำหุ่นจำลอง

คำสำคัญ: คำสำคัญ 1 (CPR); คำสำคัญ 2 (High Quality CPR); คำสำคัญ 3 (หุ่นจำลองช่วยฟื้นคืนชีพ)