การศึกษาปริมาณสาร Terpenes และ Phenolic ในไมยราบยักษ์และประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Pseudomonas aeruginosa

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จิรทีปต์ กูลณรงค์, เดชาธร จิตนาธรรม, โชกุน โยธี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

มารีแย อาแวหะโละ, สาแลฮะ ดีซะเอ๊ะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาปริมาณสาร Terpenes และ Phenolic ในไมยราบยักษ์และประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Pseudomonas aeruginosa

มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเข้มข้นของสาร Phenolic และ Terpenes ที่พบในโครงสร้างส่วนต่างๆของไมยราบยักษ์ ได้แก่ ราก ลำต้น กิ่ง และใบ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Pseudomonas aeruginosa ของสารที่พบในไมยราบยักษ์ 3) ศึกษาการนำไมยราบยักษ์ไปต่อยอดทำเป็นผลิตภัณฑ์ยารักษาภายนอกหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

โดยมีวิธีดำเนินงานดังนี้ เริ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูล หลักการ คุณสมบัติของไมยราบยักษ์ และรูปแบบ

การทดลองที่สามารถใช้อ้างอิงได้ ต่อมาจึงเริ่มทำการทดลองตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้โดยเริ่มจากการเก็บตัวอย่างไมยราบยักษ์ที่มีอายุใกล้เคียงและในบริเวณพื้นที่เดียวกัน มาทำการอบไร้ความความชื้น(อบแห้ง)จนมีน้ำหนักคงที่แล้วจึงทำการสกัดสารในไมยราบยักษ์แต่ละส่วนด้วยน้ำกลั่นและการตรวจสอบปริมาณสาร Terpenes และ Phenolic จากกราฟมาตรฐานที่ได้จัดทำไว้ เมื่อได้ผลจากการทดลองตอนที่หนึ่งแล้วว่า ในใบไมยราบยักษ์มีปริมาณสาร Phenolic มากที่สุดจึงได้ติดต่อขอความร่วมมือในการจัดทำการทดลองจากวัตถุประสงค์ตอนที่ 2 จากห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลยะลาโดยใช้เชื้อแบคทีเรียทั้งหมด 2 ชนิดคือ Staphylococcus aureus และ Pseudomonas aeruginosa เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 สามารถพบได้ในบริเวณผิวมนุษย์และมีผลเสียเมื่อเกิดแผลจะส่งผลในเกิดการอักเสบและลุกลามเป็นแผลที่สามารถรักษาได้ยากได้รวมทั้งนำไปสู่การติดเชื้อได้ ซึ่งการทดสอบได้ผลปรากฏว่าสาร Phenolic ในส่วนของใบไมยราบยักษ์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิด ได้เทียบเท่าหรือน้อยกว่าเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสาร Phenolic บริสุทธิ์ หลังจากนั้นเราได้นำสารละลายจากใบไมยราบยักษ์ต่อยอดทำเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและรักษาแผล

ผลจากการศึกษาและได้ทำการทดลองทางห้องปฏิบัติการถึงการตรวจสอบความถูกต้อง การนำข้อมูลวิเคราะห์และสรุปผลจากโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาปริมาณสาร Terpenes และ Phenolic ในไมยราบยักษ์และประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Pseudomonas aeruginosa สามารถนำมาประยุกต์ใช้ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ยารักษาภายนอกหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเป็นแบบอย่างหรือต้นแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถต่อยอดขายในเชิงพาณิชย์ได้