การศึกษาการเพิ่มแร่ธาตุให้กับดินโดยใช้ปุ๋ยหมักจากตัวกะปิ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชญานิศกานต์ ทองมาก, จีรวรรณ ชื่นขำ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐิตารีย์ ทองเทียนชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวกะปิเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในระบบนิเวศที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก เป็นกลุ่มสัตว์ขาข้อที่อาศัยอยู่บนบก ลำตัวแบ่งเป็นข้อปล้องและสามารถม้วนขดเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน พบอาศัยเป็นกลุ่มใหญ่ในที่มืดทึบหรือบนพื้นป่าชายเลนที่น้ำท่วมไม่ถึง เช่น ใต้ก้อนหิน ใต้เศษใบไม้ หรือตามกองกิ่งไม้ที่มีร่มไม้หนาแน่นและมีความชื้นสูง
ตัวกะปิมีความสำคัญอย่างมากในระบบนิเวศ ทำหน้าที่ในการบริโภคอินทรีย์สารและซากพืชที่ตายแล้วเป็นอาหารโดยออกหากินในช่วงเวลากลางคืน ช่วยเร่งการย่อยสลายซากพืชให้มีขนาดอนุภาคเล็กลงจนต้นไม้สามารถดูดกลับไปใช้ได้
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เราจึงให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพของดิน เพื่อนำไปสู่ผลผลิตทางการเกษตรที่ดี ทำให้มีผลิตภัณฑ์ปรับปรุงคุณภาพดินวางจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก
จากความสามารถในการย่อยสลายอินทรีย์สารและซากพืชที่ตายแล้วของตัวกะปิ ทำให้ลักษณะทางกายภาพของดินดีขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อดิน แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจ และไม่เห็นถึงความสำคัญของตัวกะปิ ทั้งๆที่ตัวกะปิสามารถหาพบได้ง่าย และขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
ผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะผลิตปุ๋ยหมักจากตัวกะปิ โดยจับตัวกะปิมาเลี้ยงไว้ในดินแล้วให้น้ำและเศษผักเป็นประจำ วัดค่าความชื้น ความเป็นกรด-เบส และอุณหภูมิในแต่ละวัน แล้วตรวจสอบการเพิ่มขึ้นของปริมาณแร่ธาตุ N P K ในดินโดยใช้ชุดทดสอบค่าN P K และวัดค่าสีโดยใช้เครื่อง UV-VIS Spectrophotometer เมื่อครบตามระยะที่กำหนดจึงเป็นปุ๋ยที่ได้มาใช้ทางการเกษตรต่อไป เพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน โดยการเพิ่มแร่ธาตุให้กับดิน ทำให้ดินมีแร่ธาตุที่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม