การประยุกต์ใช้อินดิเคเตอร์ธรรมชาติจากสารสกัดแก่นไม้ สำหรับการตรวจวัดสีบนสมาร์ทโฟน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วราภรณ์ อยู่พุ่ม, สรัลรัตน์ โพธิ์ขำ, วิลาวัณย์ มิ่งเหมือน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วุฒิชัย ขอทะเสน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การประยุกต์ใช้อินดิเคเตอร์ธรรมชาติจากสารสกัดแก่นไม้สำหรับการตรวจวัดสีบนสมาร์ทโฟนในห้องปฏิบัติการเคมี โรงเรียนท่าชัยวิทยา จังหวัดสุโขทัย ได้ทำการสกัดแก่นไม้ 4 ชนิด คือ แก่นขนุน แก่นแกแล แก่นมะหาด และแก่นขี้เหล็ก ใช้เอทานอลเป็นตัวทำลายละลาย และทดสอบความเป็นอินดิเคเตอร์ จากการเปลี่ยนแปลงสีในช่วง pH 1-14 โดยสังเกตด้วยตาเปล่า และการตรวจวัดบนแอพพลิเคชันสมาร์ทโฟน พบว่าพบว่าสารสกัดจาก แก่นมะหาด แก่นแกแล แก่นขนุน และแก่นขี้เหล็ก สามารถนำมาใช้ประยุกต์ใช้เป็นอินดิเคเตอร์สำหรับการไทเทรต กรด-เบส ได้ โดยแก่นมะหาด มีช่วงการเปลี่ยนแปลงสี ระหว่างช่วง pH 9-10 สารละลายมีสีน้ำตาลอ่อนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้น แก่นแกแล มีช่วงการเปลี่ยนแปลงสี 2 ช่วงคือ ช่วง pH 4-5 สารละลายใสไม่มีสีเป็นสีเหลืองอ่อน และช่วง pH 8-9 สารละลายสีเหลืออ่อนเป็นสีเหลืองเข้มขึ้น ในส่วนของแก่นขนุนมีช่วงการเปลี่ยนแปลง 2 ช่วงคล้ายกับแก่นแกแลคือ ช่วง pH 4-5 สารละลายสีขาวขุ่นเป็นสีเหลืองอ่อน และช่วง pH 8-9 สารละลายสีเหลืออ่อนเป็นสีส้ม และ แก่นขี้เหล็ก มีการเปลี่ยนแปลง ช่วง pH 9-10 ทั้งนี้ได้ทดสอบการเทียบสีด้วยแอพพลิเคชันในสมาร์ทโฟนเพื่อช่วยพิจารณาความเป็นอินดิเคเตอร์รวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากสามารถรายงานออกมาเป็นค่า RGB ได้