การเปรียบเทียบการดูดซับไอออนของสารตะกั่วจากขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย แกลบดำ และเกล็ดปลากะพง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จุฬาลักษณ์ ทวีสุขเสถียร, ธมกร สูงสว่าง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

รัตนวดี โมรากุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกำเนิดวิทย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันได้มีปัญหาด้านมลภาวะต่างๆมากมาย โดยเฉพาะมลพิษทางน้ำซึ่งมีสารโลหะหนักปนเปื้อน คณะผู้จัดทำโครงงานจึงได้คิดหาวิธีการลดปริมาณไอออนของตะกั่วโดยใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น คือ ขี้เลื่อย แกลบดำ ขุยมะพร้าว และเกล็ดปลากระพง วัตถุประสงค์ของโครงงาน คือ 1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดูดซับไอออนของสารตะกั่วในระยะเวลาต่างๆ 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของสารตะกั่วของของขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย แกลบดำ และเกล็ดปลากระพงที่ผ่านการปรับสภาพ 3) เปรียบเทียบอัตราส่วนของวัสดุดูดซับธรรมชาติต่างๆ ในการดูดซับ 4)เปรียบเทียบการดูดซับโดยใช้วัสดุธรรมชาติแบบปกติ กับการขึ้นรูปด้วยไคโตซานในการดูดซับ โดยนำวัสดุธรรมชาติมาปรับสภาพโดยนำวัสดุมาแช่ NaOH 0.1 M นาน 1ชั่วโมง และ C6H8O7 0.1 M นาน 1 ชั่วโมง ตามลำดับ นำไปล้างด้วยน้ำ แล้วอบให้แห้งด้วยอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดลองการดูดซับไอออนของตะกั่วโดยใช้สารละลายตะกั่วเข้มข้น 2 ppm ลงไปในวัสดุดูดซับ กรองตัวอย่างและนำไปวัดด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer