ระบบบาร์โค้ดบนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการดำเนินธุรกิจ
- ชื่อผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฑีฆวัฒน์ เทพานวล
ปวีณวัช สุรินทร์
ปิยะพงษ์ บุญมี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุขุมาล กิติสิน
- สถาบันการศึกษาที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ระดับการศึกษา
- หมวดวิชา
- วันที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
01 มกราคม 2541
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคนิคการสร้างบาร์โค้ดบนจอภาพโทรศัพท์เคลื่อนที่ มาใช้ในการพัฒนาระบบที่ประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่และเว็บเซอร์วิส เพื่อรองรับการทำงานดังนี้คือ การขอรับใบแจ้งค่าบริการ การขอทำบัตรสมาชิก การจองและการซื้อตั๋วต่างๆ จากเว็บเซอร์วิสผู้ให้บริการคือ หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่มีการใช้ใบแจ้งค่าบริการหรือบัตรสมาชิก ผู้ให้บริการในระบบธุรกิจที่มีการใช้ตั๋ว ตามลำดับ ผ่านโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อใช้โปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนใบแจ้งค่าบริการ บัตรสมาชิก ตั๋วต่างๆและใช้ในการยืนยันการออกตั๋วจริงจากจองตั๋วต่างๆ โดยระบบมีการทำงานดังนี้คือ เว็บเซอร์วิสของระบบจะทำหน้าที่รวบรวมบริการและเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อประสานการทำงานเพื่อส่งผ่านข้อมูลใบแจ้งค่าบริการ ข้อมูลบัตรสมาชิก ข้อมูลหมายเลขเฉพาะหรือข้อมูลหมายการจองของตั๋วต่างๆ ระหว่างเว็บเซอร์วิสผู้ให้บริการกับโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยลักษณะข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเป็นรูปแบบเอกสาร XML ซึ่งโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของระบบสามารถนำข้อมูลหมายเลขบาร์โค้ดบนใบแจ้งค่าบริการ หมายเลขบาร์โค้ดบนบัตรสมาชิก และหมายเลขเฉพาะหรือหมายเลขการจองของตั๋วต่างๆ ทั้งจากการเชื่อมต่อกับเว็บเซอร์วิสของระบบ การรับข้อความ SMS จากผู้ให้บริการและการพิมพ์ข้อมูลโดยตรง มาทำการสร้างเป็นบาร์โค้ดบนจอภาพโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อรองรับการอ่านจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดในการใช้งานต่อไป โดยระบบที่พัฒนาขึ้นจะเป็นนวัตกรรมใหม่ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจ โดยทำให้ผู้ใช้ระบบในส่วนโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของระบบสามารถลดภาระการเก็บดูแลรักษาบัตรสมาชิก ใบแจ้งค่าบริการและตั๋วต่างๆ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการยืนยันออกตั๋วจริงจากการจองตั๋วต่างๆ ด้านผู้ให้บริการต่างๆ สามารถลดการใช้ต้นทุนและทรัพยากรธรรมชาติจากการผลิตบัตรสมาชิก ใบแจ้งค่าบริการ และตั๋วต่างๆ เช่น พลาสติก กระดาษ หมึกพิมพ์ เป็นต้น โครงการนี้ได้มีการสร้างส่วนจำลองเพื่อใช้ในการทดสอบระบบสองส่วน ส่วนแรกคือส่วนเว็บเซอร์วิสและโปรแกรมประยุกต์สาขาของผู้ให้บริการ ส่วนที่สองคือส่วนโปรแกรมประยุกต์ของบริษัทตัวแทนรับชำระเงิน